โซเชียลตั้งคำถามถึงศุลกากร หลังมีแม่ค้าโพสต์ ทำอาชีพตัดสต็อก ได้กำไรวันละ 3 ล้านบาท

คอมเมนต์:

แม่ค้าโพสต์อวดเงินในบัญชี หลังทำอาชีพ "ตัดสต็อก" ได้กำไรวันละ 3 ล้าน ทำ 2 เดือน ได้เงิน 12 ล้าน โซเชียลตั้งคำถามถึงศุลกากรขอความชัดเจน

        เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดเป็นอย่างมากในโลกออนไลน์หลังจากที่มีแฮชแท็ก #ศุลกากรหรือซ่องโจร ผุดขึ้นมาในโลกโซเชียล หลังจากที่มีชาวเน็ตออกมาเล่าประสบการณ์การสั่งสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีหลายเคสที่สินค้าหายบ้าง โดนยึดไว้บ้าง และมีการตีมูลค่าภาษีที่แพงเกินกว่าจะจ่ายไหวจนต้องทิ้งสินค้า

        โดยทางเพจ Branding by Boy ได้กล่าวถึงประเด็นคนในศุลกากรนำของไปขาย โดยสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าที่ยึดมาประเมินราคาเพื่อเก็บภาษี แต่กลับมีภาษีที่สูงจนเจ้าของสินค้าต้องจำใจทิ้งไป เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับ "ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่" และจะปล่อยผ่านหรือจะมีส่วนลดหรือไม่ก็ล้วนแล้วแต่เจ้าหน้าที่ ทั้งที่ทางศุลกากรชี้แจงไว้ว่าเป็นไปตามระเบียบการพิจารณาภาษีตามหลักสากล แต่กลับเจอประเมินภาษีที่สูงจนได้ไม่คุ้มเสีย 

 

Sponsored Ad

 

        แม้ว่าเรื่องจะเริ่มเงียบหายไปแล้ว เพราะทางศุลกากรก็ออกมาชี้แจงผ่านสื่อต่าง ๆ แล้ว แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริงยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก ทำให้เรื่องดังกล่าวได้กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งในโลกออนไลน์ หลังจากที่มีภาพของเหล่าแม่ค้าจากในกลุ่มขายของที่ยึดมาโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นการตั้งข้อสงสัยในความเป็นไปได้ว่าทั้งภาพและหลักฐานสินค้าสต็อกที่นำออกมา รวมถึงรายได้จากธุรกิจมีคนได้ผลประโยชน์อย่างชัดเจน

 

Sponsored Ad

 

        ตามกระบวนการมาตรา 23 หากศุลกากรยังไม่ได้รับค่าอากร จะมีอำนาจสั่งยึดและนำไปขายทอดตลาด เงินที่ได้มาจะหักเป็นค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายยึดของและขายทอดตลาด ค่าอาการที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบ หากมีเงินเหลือจะส่งคือให้เจ้าของสินค้า ตามมาตรา 24 แต่จะเป็นไปตามนี้ตลอดหรือไม่ก็คงต้องให้ศุลกากรเป็นผู้พิสูจน์

        ทั้งนี้ยังมีช่องโหว่ในสินค้าประเภทต้องจำกัด มีราคาเกิน 40,000 บาท ยา พืชที่ต้องแสดงใบนำเข้า ที่จะกักสินค้าไว้ในคลังก่อนเป็นเวลา 30 วัน ให้ผู้รับมาแสดงตัวที่ศุลกากร ไม่มีการแจ้งภาษีล่วงหน้า ต้องมาเปิดต่อหน้าคลังเสียค่าเก็บสินค้า และหากเกิน 30 วันไม่มีใครมาแสดงตัว ทางศุลกากรจะเปิดสินค้าและเก็บอีก 30 วัน หากไม่มีเจ้าของมารับสินค้าชิ้นนั้น สินค้าที่ไม่มีมูลค่าจะมีการตีคืนกลับต่างประเทศหรือทำลายทิ้ง หากเป็นสิ่งของมีมูลค่าจะสามารถนำมาขายทอดตลาดได้

 

Sponsored Ad

 

        หลังจากนั้นก็ได้มีการตั้งคำถามว่าแล้วการขายทอดตลาดเป็นอย่างไร ใครนำไปขายและขายที่ไหน โดยใครเป็นคนซื้อ และที่สำคัญมีหลักฐานการซื้อขายที่ถูกต้องชัดเจนหรือไม่

ที่มา : เฟซบุ๊ก Branding by Boy

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ