เกษตรกรสุพรรณฯ ปลูกอ้อยขาดทุน หันมา "ปลูกแตงเมล่อน 8 ไร่" โกยกำไรปีละ 1.4 ล้าน!

คอมเมนต์:

เปิดเคล็ดลับ "เกษตรกรสุพรรณฯ" ปลูกอ้อยขาดทุน หันมา "ปลูกแตงเมล่อน 8 ไร่" โกยกำไรปีละ 1.4 ล้าน!

        คนไทยหลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อ "แตงเมล่อน" เพราะเป็นผลไม้นำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคาจึงค่อนข้างแพง ใแต่ความจริงแล้วเจ้าผลไม้ชนิดนี้เป็นหนึ่งในพืชผักผลไม้ที่ได้ราคาดีและเป็นที่ต้องการของตลาด มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล

        “คุณอำนาจ แตงโสภา” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ผู้หันมาปลูกเมล่อน รวมทั้งเป็นผู้นำ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง” ที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพื้นที่นี้ไม่มีแม่น้ำหรือแหล่งน้ำทางธรรมชาติไหลผ่าน แต่ก็สามารถปลูกเมล่อนในโรงเรือนได้ โดยมีการขุดแหล่งน้ำในพื้นที่ของตัวเองจนประสบความสำเร็จ ได้ผลกำไรอย่างงาม

 

Sponsored Ad

 

        คุณอำนาจ ย้อนอดีตให้ฟังว่า ก่อนจะมาปลูกเมล่อน เกษตรกรในพื้นที่นี้ปลูกกันมาหลายอย่าง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ แต่ก็ประสบปัญหานานา กระทั่งมาปลูกเมล่อนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกราว 80 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ไร่ และยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ ตั้งเป้าผลิตเมล่อนญี่ปุ่นให้ได้ 70 ตัน ทุกเดือน ที่มีคุณภาพรสชาติความหวานเป็นที่  1 ซึ่งในการปลูกนี้มีทางบริษัทขายเมล็ดพันธุ์มาให้ความรู้ต่างๆ

 

Sponsored Ad

 

        คุณอำนาจ เล่าว่า ทางกลุ่มได้มีการจัดการผลิตที่เป็นระบบ โดยกำหนดรอบเวรให้สมาชิกแต่ละรายปลูกห่างกัน 4 วัน เพื่อให้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบแห่งนี้ตั้งใจทำงานด้วยความขยันขันแข็ง และมีความสามัคคีปรองดองในกลุ่มสมาชิก ที่ผ่านมาพวกเขามักรวมตัวกันใช้แรงงานร่วมกันที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “ลงแขก” ไปช่วยผสมเกสรในแปลงปลูกเมล่อนของเพื่อนสมาชิก เพื่อให้ได้ผลผลิตทันเวลาและช่วยกันลงแขกเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้สมาชิกกลุ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากทุกคนต้องการร่วมมือกันพัฒนาเมล่อนของชุมชนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

 

Sponsored Ad

 

        ด้วยระบบการปลูกที่ได้คุณภาพและมีตลาดแน่นอน ทำให้เกษตรกรในท้องถิ่นหันมาปลูกเมล่อนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยทางกลุ่มจะจัดอบรมความรู้เรื่องการปลูกเมล่อนญี่ปุ่นให้แก่เกษตรกรมือใหม่ได้รู้จัก “วงจรชีวิตแตงเมล่อน” โดยช่วงวันที่ 1-10 เป็นขั้นตอนการเพาะกล้า ช่วงวันที่ 11-22 เป็นขั้นตอนการตัดแต่งแขนง ช่วงวันที่ 23-25 เป็นระยะผสมเกสร ช่วงวันที่ 26-30 เป็นระยะคัดผลและแขวนลูก ช่วงวันที่ 36-60 เป็นระยะเร่งลูก บำรุงปุ๋ยให้ต้นเมลอนญี่ปุ่นเจริญเติบโตตามที่ต้องการ ช่วงวันที่ 61-70 เน้นเพิ่มความหวานให้ผลเมลอนญี่ปุ่น และช่วงวันที่ 71-75 เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต

 

Sponsored Ad

 

        คุณอำนาจ แจงว่า กรณีเป็นเกษตรกรมือใหม่จะแนะนำให้ทดลองปลูก 4 โรงเรือนก่อน โรงเรือนขนาด 3.5×36 เมตร ปลูกได้ 740 ต้น สามารถสร้างรายได้ถึงรอบละ 40,000-45,000 บาท ต่อโรงเรือน อย่างไรก็ตาม การปลูกในครั้งแรกจะมีต้นทุนค่าโรงเรือน ค่าระบบน้ำ ประมาณ 220,000 บาท และมีต้นทุนการปลูกเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่า ย า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ เฉลี่ยรอบละประมาณ 8,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด เกษตรกรมือใหม่จะมีโอกาสคืนทุนและได้ผลกำไรภายใน 1 ปี

 

Sponsored Ad

 

        ที่ผ่านมาการที่กลุ่มจัดหลักสูตรอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้น นับว่ามีส่วนช่วยทำให้เกษตรกรมือใหม่ สามารถผลิตเมล่อนญี่ปุ่นคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของตลาด ภายในเวลา 1 ปี เกษตรกรสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวเมล่อนญี่ปุ่นได้ถึง 3 รอบ หากมีการวางแผนจัดการที่ดีบางรายอาจปลูกเมล่อนญี่ปุ่นได้ถึง 7 รอบ ภายในระยะเวลา 2 ปี

        “การปลูกเมล่อนญี่ปุ่น ต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดพอสมควรเหมือนเลี้ยงดูลูกอ่อน เมล่อนญี่ปุ่นเป็นพืชที่ทนอากาศร้อนได้ดี แถมใช้น้ำน้อยไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำที่ใช้ทำนา ใช้เวลาปลูกดูแลเพียงแค่ 75 วันเท่านั้น สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ เมล่อนแต่ละผลจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม แต่ละโรงเรือนจะเก็บผลผลิตออกขายได้ประมาณ 1 ตัน ขายส่งในราคากิโลกรัมละ 53-60 บาท เมล่อนญี่ปุ่นนี้ไม่ชอบอากาศหนาวเลย ถ้าเจอหนาวจะทำให้ผลผลิตลดลง” คุณอำนาจ กล่าวและว่า ผู้ที่สนใจปลูกเมล่อน ก่อนอื่นต้องรู้ตัวว่าอดทนที่จะอยู่ในโรงเรือนได้หรือเปล่า เพราะจะร้อนมาก ถ้าอดทนไม่ได้จะลำบาก 

 

Sponsored Ad

 

        สมาชิกกลุ่มทุกคนตั้งใจผลิตเมล่อนญี่ปุ่นคุณภาพดีออกจำหน่าย หากผลผลิตไม่หวานไม่ตัดออกขายอย่างเด็ดขาด ทำให้สินค้าเมล่อนญี่ปุ่นทุกลูกที่ผลิตจากชุมชนแห่งนี้ มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เรียกว่า ผลิตจนไม่ทันกับความต้องการของตลาด สินค้ามีมากเท่าไหร่ก็ผลิตไม่พอขาย

        คุณอำนาจ ยืนยันว่า ผลผลิตของกลุ่มแม้จะไม่ได้เป็นออร์แกนิกแต่ก็เป็นเกษตรปลอดภัย สามารถรับประทานได้ไม่ต้องห่วงเรื่อง ส า ร ต ก ค้ า ง แต่หากไปซื้อเมล่อนที่วางขายตามข้างทาง ราคาถูก แต่อาจจะไม่ปลอดภัยพราะไม่มีการควบคุมการใช้ปุ๋ยเคมี

Sponsored Ad

        สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคางอีกราย คือ คุณชูศักดิ์ แตงโสภา หรือ “ผู้ใหญ่หมู” เล่าว่า ก่อนหน้านี้ปลูกอ้อยเป็นอาชีพหลักแต่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ผลกำไรเหลือไม่มาก ต่อมาปี 2554 เห็นเพื่อนเกษตรกรในชุมชนปลูกเมล่อนญี่ปุ่นแล้วได้ผลตอบแทนที่ดี เลยทดลองปลูกเมล่อน ปรากฏว่าสามารถคืนทุนได้ตั้งแต่การปลูกรอบแรก จึงขยายพื้นที่ปลูกเมล่อนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

        เขาอธิบายถึงเทคนิคการปลูกเมล่อนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตที่ดีว่า อยู่ที่เทคนิคการผสมเกสรดอกเมล่อนในระยะเวลาที่เหมาะสมคือ ตั้งแต่ “07.00-11.00 น.” หลังจากนี้ไม่ได้ผลนัก เพราะพืชคายน้ำ ปัจจุบันทางกลุ่มได้ช่วยกันทำงาน โดยลงแขกผสมเกสรต้นเมล่อนญี่ปุ่น ทำให้สมาชิกทุกรายได้ผลผลิตที่ดี โดยทั่วไปดอกเมล่อนเป็นดอกสมบูรณ์ คือมีดอกเกสรตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะอยู่ระหว่างข้อบนลำต้น การผสมเกสรจะทำในตอนเช้า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ 07.00-09.00 น. โดยเลือกผสมดอกเพียง 2-3 แขนง ต่อต้น อาศัยการจดบันทึกดอกบานหรือจำนวนดอกที่ผสมในแต่ละวัน เพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใช้พู่กันแต้มเกสรดอกตัวผู้

นำพู่กันเปื้อนเกสรตัวผู้มาสัมผัส ผ ส ม พั น ธุ์ ดอกตัวเมีย

        “คุณศิริพร เดชสิงห์” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บอกว่า เมล่อนญี่ปุ่น เป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการสูง ในแต่ละปี แม็คโครขายเมล่อนกว่า 700 ตัน โดยรับซื้อจากเกษตรกรในเครือข่าย ที่ปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 150 ตัน โดยแม็คโครควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน เนื้อแน่น หวาน กรอบ กลิ่นหอมตามธรรมชาติ ควบคุมสภาพดินและน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกในฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ควบคุมโรงคัดบรรจุตามมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP) ปลอดภัยจาก ส า ร เ ค มี ต ก ค้ า ง และ ย า ฆ่ า แ ม ล ง ที่สำคัญ ผลผลิตทุกลูกสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งเพาะปลูก

        เพราะกล้าที่จะเปลี่ยน ยอมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ...พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกเมล่อน 20 โรงเรือน เก็บผลผลิตปีละ 3 หน ทำให้ผู้ใหญ่ชูศักดิ์มีรายได้หลังหักต้นทุน เหลือกำไรปีละ 1,496,000 บาท หรือไร่ละ 187,000 บาทต่อปี ฟังข้อมูลแบบนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงคิดอยากปลูกเมล่อนญี่ปุ่นกันบ้าง ซึ่งมีเกษตรกรหลายรายที่ประสบความสำเร็จและร่ำรวยจากการทำแปลงปลูกเมล่อนในโรงเรือน อย่างไรก็ตาม ก่อนลงมือปลูกต้องหาตลาดให้ได้แน่นอนเสียก่อนค่ะ

ข้อมูลและภาพจาก thairath, sentangsedtee

บทความที่คุณอาจสนใจ