พระธาตุประจำของ "12ปีนักษัตร" ช่วยเสริมบารมีปี 2565 ชีวิตดี เงินทองมากมี สุขภาพแข็งแรง

คอมเมนต์:

ต้องไปสักครั้งในชีวิตแล้วล่ะค่ะ

    ในสังคมไทย... "พระธาตุ" มีความหมายสองนัยคือ "พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า" และ "สถานที่หรือพระเจดีย์ที่มีพระบรมธาตุบรรจุ" โดยแต่ละแห่งจะมีตำนานที่เล่ามูลเหตุการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งสัมพันธ์กับการเสด็จโปรดสัตว์ของพระพุทธเจ้าในดินแดนต่าง ๆ สถานที่ที่มีพระบรมธาตุเจดีย์เหล่านี้มักจะกลายเป็นเมืองสำคัญในเวลาต่อมา 

    ความเชื่อเรื่องปีนักษัตรที่สัมพันธ์กับปีเกิดและการนับอายุของแต่ละคนเป็นที่รับรู้กันแพร่หลาย ในแต่ละปีนักษัตรจึงกำหนดด้วยสัญลักษณ์เป็นสัตว์ประจำปีเกิด หรือที่เรียกว่า 12 นักษัตร เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำบุญเสริมดวงชะตา วันนี้เราจึงนำข้อมูลเรื่อง พระธาตุประจำปีเกิด รวมถึงการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร ตามสถานที่ต่าง ๆ มาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูด้วยกันเลยค่ะ 

 

Sponsored Ad

 

1. ปีชวด (ปีหนู)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่

    พระธาตุศรีจอมทอง เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดพุทรา สัณฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

 

Sponsored Ad

 

2. ปีฉลู (ปีวัว)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

    วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป

 

Sponsored Ad

 

3. ปีขาล (ปีเสือ)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุช่อแฮ จ. แพร่

    พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดปีเสือ (ปีขาล) พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ1 ใน12 ราศี คือ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีเสือ (ปีขาล) หากนำผ้าแพรสามสีไปถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวดและไหว้ ให้เริ่มต้นนะโม 3 จบ แล้วสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ 5 จบ พลังบารมีจะดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น พระธาตุช่อแฮ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประดับบูชาด้วยผ้าแพรอย่างดี

 

Sponsored Ad

 

4. ปีเถาะ (กระต่าย)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

    วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต

 

Sponsored Ad

 

5. ปีมะโรง (ปีงูใหญ่)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร พระพุทธสิหิงค์ จ.เชียงใหม่

    พระสิงห์วรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"

 

Sponsored Ad

 

6. ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก)

พระธาตุประจำปีเกิด: พระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจดีย์เจ็ดยอด) จ.เชียงใหม่

    วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 1998 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย

Sponsored Ad

7. ปีมะเมีย (ปีม้า)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก

    วัดพระบรมธาตุ ซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย ในช่วงวันขึ้น14 และ 15 ค่ำเดือนเก้าของชาวภาคเหนือ ชาวอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก จัดงานบุญที่ยิ่งใหญ่ คือประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า

8. ปีมะแม (ปีแพะ)

พระธาตุประจำปีเกิด: พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

    พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา มีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน 

9. ปีวอก (ปีลิง)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม

    วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม

10. ปีระกา (ปีไก่)

พระธาตุประจำปีเกิด: พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน

    วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา

11. ปีจอ (ปีสุนัข)

พระธาตุประจำปีเกิด: พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดเกตการาม จ.เชียงใหม่

    สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ พระธาตุประจำปีเกิดคือพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งตามพุทธประวัติ กล่าวไว้ว่า ประดิษฐานพระทันตธาตุที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุ

12. ปีกุน (ปีหมู)

พระธาตุประจำปีเกิด: วัดพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย

    วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

ข้อมูลและภาพ จาก  MTHAI

บทความที่คุณอาจสนใจ