เปิดงบสร้าง "เสาไฟฟ้าประติมากรรม" ทั่วไทย 51 จังหวัด ตลอด 7 ปี ใช้เงินเกือบพันล้าน สุดอู้ฟู่ 167 โครงการ

คอมเมนต์:

ใช้เงินเกือบ 1 พันล้าน แล้วสวยหรือคุ้มค่ามากแค่ไหนกัน...

    จากกรณี โครงการเสาไฟกินรีที่ อบต. แห่งหนึ่งได้จัดทำขึ้น ซึ่งมีราคาที่แพงเกินความจำเป็น จนกลายเป็นที่จับตามองของคนในสังคมและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก 

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทาง The EXIT Thaipbs ได้ออกมาเผยบทสรุปข้อมูลงบประมาณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการเสาไฟฟ้าประติมากรรม ที่มีรูปปั้นต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2558-2564 และได้พบข้อมูลที่น่าตกใจ

 

Sponsored Ad

 

    ในปี 2558 ใช้งบประมาณไป 43.8 ล้านบาท, ปี 2559 ใช้งบประมาณไป 29.2 ล้านบาท ,ปี 2560 ใช้งบประมาณไป 7.9 ล้านบาท ,ปี 2561 ใช้งบประมาณไป 23 ล้านบาท ,ปี 2562 ใช้งบประมาณมาณไป 216.9 ล้านบาท , ปี 2563 ใช้งบประมาณไป 273.5 ล้านบาท และปี 2564 ซึ่งยังไม่ครบปี แต่ใช้กลับงบไปแล้วกว่า 304.9 ล้านบาท (รวมทั้งหมด 899 ล้านบาท) 

 

Sponsored Ad

 

    ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐบาล คสช. จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน มี โครงการเสาไฟฟ้าประติมากรรม ทั้งหมด 167 โครงการ และใช้งบประมาณไปแล้วเกือบ 1 พันล้านบาท โดยมี 51 จังหวัด ประกอบไปด้วย ภาคกลาง 17 จังหวัด, ภาคตะวันออก 5 จังหมด, ภาคอีสาน 8 จังหวัด, ภาคเหนือ 6 จังหวัด, ภาคตะวันตก 4 จังหวัด และภาคใต้ 11 จังหวัด

    ซึ่งงบกว่า 899 ล้านบาท ถูกใช้ไปที่ ภาคกลางสูงถึง 706 ล้านบาท และสิ่งที่น่าตกใจคือ ตลอด 7 ปี อบต. ราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการแห่งเดียว ใช้งบไปถึง 699 ล้านบาท

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่ง 5 จังหวัด จากทั้งหมด 51 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ใช้งบประมาณไปกับเสาไฟฟ้าประติมากรรมสูงที่สุด คือ อันดับที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ 669,650,000 บาท, อันดับที่ 2 สงขลา 34,324,000 บาท, อันดับที่ 3 พัทลุง 19,743,540 บาท, อันดับที่ 4 นราธิวาส 16,476,000 บาท, อันดับที่ 5 ภูเก็ต 16,263,000 บาท

 

Sponsored Ad

 

.

    The EXIT Thaipbs ยังได้รายงานเพิ่มเติมอีกว่า ผลการตรวจสอบโครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมประติมากรรมรูปกินรี อบต.ราชาเทวะ โดย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ที่ออกมาในปี 2560 มีข้อสังเกต 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ราคาสูงมากเกินจริง, 2. การติดตั้งเสาไฟไม่เป็นไปตามมาตราฐานไฟฟ้าสาธารณะ ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และ 3. การชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้งานได้ ขาดการบำรุงรักษา อย่างต่อเนื่อง  

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

โพสต์ต้นฉบับ Ep.1 ปล่อยแบบนี้มาได้อย่างไร !

โพสต์ต้นฉบับ Ep.2  ทำไมเราปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น

โพสต์ต้นฉบับ Ep.3 งบประมาณหายไปไหนบ้าง ?

ที่มา : The EXIT Thaipbs


บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ