เปิดที่มา "ฉลองพระองค์ พระราชินี" ชุดไทยเรือนต้น ผ้าไหมสีเขียวไข่ครุฑ ทรงพระสิริโฉม

คอมเมนต์:

เปิดที่มา "ฉลองพระองค์ พระราชินี" ชุดไทยผ้าไหมสีเขียวไข่ครุฑ ครั้งในหลวง-พระราชินี เสด็จฯอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าคุณพระสินีนาฏ

    ในหลวง พระราชินี เสด็จฯอยุธยา พร้อมด้วย เจ้าคุณพระสินีนาฏ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ไปทอดพระเนตรโครงการอนุรักษ์และพัฒนาวัดนิเวศธรรมประวัติ และทรงเปิดวิทยาลัยเสริมทักษะพระภิกษุ สามเณร ณ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

Sponsored Ad

 

    ก่อนในเวลาต่อมา แฟนเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เปิดเผยถึงที่มาฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยระบุว่า ชุดไทยเรือนต้น ผ้าไหมสีเขียวไข่ครุฑ พระภูษาปักไหมน้อยลายดอกไม้ไทย พระกระเป๋า-ผ้าปักไหมน้อย

 

Sponsored Ad

 

    การปักซอย คือ เป็นการปักผ้าโบราณของไทยด้วยวิธีปักขึ้นลงถี่ ๆ สับหว่าง แซม และโค้งไปตามลวดลายภาพต้นแบบ ซึ่งเป็นการปักต้องอาศัยความละเอียดสูง จึงเกิดสีสันและเหลือบเงาได้เหมือนจริง การปักซอยนี้เป็นงานฝีมืออย่างโบราณที่สืบทอดกันในราชสำนักและเกือบจะสูญหาย หากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้บังเอิญไปพบภาพปักโบราณในพระบรมหาราชวัง เป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ปักด้วยไหมน้อย ซึ่งเป็นฝีมือของช่างหลวงสมัยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

 

Sponsored Ad

 

    เมื่อทราบว่ายังมีผู้ที่สามารถปักงานโบราณแบบนี้ได้ จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คัดเลือกคุณข้าหลวงไปเรียนวิชาปักผ้าจากข้าราชบริพารฝ่ายในเพื่อสืบทอดวิชาปักผ้านี้ไว้ และในพ.ศ. 2518 พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเริ่มให้มีการสอนปักผ้า ด้วยวิธีแบบปักซอยแบบไทยขึ้น และนำผ้าปักเหล่านั้นมาประดิษฐ์หรือประดับของใช้ เพื่อเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงชีพแก่ราษฎร

 

Sponsored Ad

 

    สีไทยโทน เกิดจากเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงในวรรณกรรม บทประพันธ์ วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยก่อน รวมถึงภูมิปัญญาช่างศิลป์ของไทยที่สรรหาสีจากธรรมชาติ นำมาสกัด คัดแยกสี และบรรจงผสมกันเพื่อให้ได้สีที่มีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

    ซึ่งในอดีตนั้นกลุ่มสีของไทยที่ปรากฎในงานจิตรกรรมมีแม่สี ถึง 5 สี รวมเรียกหมู่สีนี้ว่า "กลุ่มสีเบญจรงค์" ประกอบไปด้วย สีดำ สีขาว สีแดง สีเหลือง และสีคราม แต่ละสีสามารถนำมาผสมให้ได้สีสันที่สวยงามได้เพิ่มขึ้นอีก 10 สี ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ตามงานศิลปะแบบไทย เช่น งานภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานศิลป์ของช่างสิบหมู่

 

Sponsored Ad

 

          สีเขียวไข่ครุฑ เป็นอีกหนึ่งสีในกลุ่มงานจิตรกรรม มีลักษณะสีเขียวอ่อนอมฟ้า สีเหมือนกับสีไข่ขี้นกการเวก หรือสีหิน Terquoise ครุฑเป็นสัตว์กึ่งเทพ เป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ

.

.

.

.

.

ที่มา : เฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ