ชีวิตไม่สุข เมื่อ "หมอเดว" กุมารแพทย์ชื่อดัง เตือนสติพ่อแม่ ระบบการศึกษาไทยขโมยเวลาแม่ลูก

คอมเมนต์:

หมอขอเตือนสติ หลังระบบการศึกษาไทย ขโมยเวลาแม่ลูก

    ย้อนชมแนวคิดจากเพจบันทึกหมอเดว หลังเคยเขียนให้ข้อคิดเรื่องระบบการศึกษาไทยที่มีการแข่งขันสูง เป็นการสร้างแรงกดดันให้เด็กต้องใช้ชีวิตบนความกดดันไม่มีเวลาเติบโตตามธรรมชาติที่ต้องมีการเล่นสนุก และขโมยความใกล้ชิดระหว่างครอบครัว

     ทางเพจ บันทึกหมอเดว ของ รศ. นพ. สุริยะเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น อดีตผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เคยได้ออกมาโพสต์เพื่อดึงสติคุณพ่อคุณแม่ ที่มักจะคาดหวังกับลูกมาก จนทำให้ลูกเกิดความกดดันและไม่มีความสุข โดยจากโพสต์นั้นได้ระบุว่า... 

 

Sponsored Ad

 

    #เมื่อลูกร้องขอเวลาจากแม่  #เมื่อระบบการศึกษาขโมยเวลาแม่ลูก งานนี้ไม่ต้องโทษพ่อแม่ แต่ต้องโทษความเป็นจริงระบบการศึกษาแพ้คัดออก ที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก

    เด็กผู้หญิงที่น่ารักมาก กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ครูแนะนำให้มาพบเพื่อให้ยาสมาธิสั้น ขาดความรับผิดชอบ แต่เมื่อหมอฟังเรื่องราวจากลูก สงสารลูกจับใจมาก แม่รักลูกมากๆ แต่ด้วยความเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว จึงต้องทำงานหนักมาก กลับบ้านดึกมากลูกหลับ บ้านนี้มีตายาย ที่คอยช่วยรับส่งหลาน แต่เช้า ลูกตื่นตีห้า ล้อหมุน 6 โมงเช้า กินข้าวเช้าบนรถ ไปถึงที่โรงเรียน 7 โมงเช้า เด็กต้องรีบวิ่งขึ้นไปรับการบ้านจากครู ก่อนเข้าเรียนย้ำว่าการบ้านเช้า

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

     ทำการบ้านเช้าเสร็จอย่างเร่งรีบเสร็จ เข้าแถว เข้าห้องเรียน เรียนหนัก เพราะเด็กเรียนของชั้นที่โตกว่า โรงเรียนนี้ เด็กป.1 เรียนหลักสูตร ป.2 ป.2 เรียนของป.3 และตอนนี้เธอเรียนป.4 แต่หลักสูตรข้ามชั้น ป.5 เลิกเรียน บ่ายสามครึ่ง ต่อด้วยกวดวิชา เลิกเกือบ 5 โมง กินข้าวเย็นบนรถ มาถึงที่บ้านรีบปั่นงาน อีกกองพะเนิน 

    แต่คุณตาเข้มมาก คาดหวังว่าลูกต้องสอบติดโรงเรียน...จึงให้หลานท่องอาขยาน ศัพท์ ภาษาอังกฤษ ทุกวัน สะสมไปเรื่อยๆ ทุกๆวัน กว่าจะได้นอนประมาณสาม-สี่ทุ่ม เพื่อตื่นตีห้าให้ทัน เป็นอย่างนี้ จันทร์ถึงศุกร์ พอวันเสาร ก็ไปกวดวิชา 2-3ที่กลับมาเย็นๆก็รีบทำการบ้านที่ครูสั่ง แบบเยอะๆเข้ามา วันอาทิตย์ก็กวดวิชาสั้นๆ และเหลือเวลาทำการบ้าน บวกกับอย่าลืม คุณตาขอแทรกด้วยการท่องจำ ตลอด

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

     ตกลงเวลาพักมีแบบแว๊บๆๆ เด็กวาดรูปสวยและเก่งมาก ชอบงานศิลปะ และดนตรี เกลียดวิชาคณิต ครูก็ดุ การบ้านก็เยอะแถมมีทุกวัน ส่วนแม่มีเวลาเสารอาทิตย์ แต่เสาร์อาทิตยลูกติดติววิชาเต็มไปหมด ลูกแทบไม่ได้อยู่กับแม่ทั้งๆที่แม่มีเวลา #ใครขโมยเวลา #ใครมาโทษว่าขาดความรับผิดชอบ #ใครเป็นคนกดดันเด็ก

     เด็กคนนี้เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เกรดเขาแย่ลง เขารู้สึกล้ามากๆ เหนื่อย ป.1-3 เรียนได้ 3.9-4.00 มาตลอด ตอนอนุบาลแม่ให้ติวเข้มมากเพื่อสอบเข้าโรงเรียนดีๆ #ท่านทราบไหมว่าเด็กติวหนักขนาดไหน

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

    เด็กเล่าว่าตอนก่อนเข้าป.1 เรียนพิเศษ เสารอาทิตย์ วันละ 7-8ที่ ย้ำว่าวันละ7-8 ที่ เด็กปฐมวัย #อนิจจาทัศนคติผู้ใหญ่ที่เศร้าใจ รวมทั้งครูก็ป่วยทางทัศนคติ ไม่พอ คุณตาเกิดอะไรขึ้นที่คลั่งไคล้มาลงความรักแบบลุ่มหลงและคาดหวังสูงที่หลานเช่นนี้

    นอกจากเรียนหนัก ติวหนัก การบ้านเยอะ กดดันหนัก ทุกวัน ทุกเทอม ทุกปี หมอมองแววตาลูก แล้ว สงสารจับใจ จับมือเขา #ให้พลังใจ ถามลูกว่า ลูกจ๋า หากขอได้อยากได้อะไรครับ ลูกบอกว่า #อยากได้เวลาจากแม่ #อยากเล่นกับแม่

 

Sponsored Ad

 

    หมอฟังไปแทบอยากร้องไห้ กอดเขาไว้แล้วบอกว่าหมอจะทำอย่างที่ลูกบอก #จะส่งสัญญาณนี้ไปให้ผู้ใหญ่ทุกคน ถึงยามนี้ หมออยากให้ยา ใครดีครับ ที่แน่ๆ ลูกจ๋า ลูกน่ารักมาก ลูกวาดรูปเก่ง ลูกมีหัวใจศิลปิน

    นาทีนี้ผมถามผู้ใหญ่ครับ ท่านทำอะไรกันครับเนี่ย ท่านจะเอาความรัก มาแปรเปลี่ยนเป็นความคาดหวัง กดดันทำไมครับ ขอตะโกนบอกผู้ใหญ่ทุกคนว่า #อย่าขโมยเวลา#อย่าขโมยธรรมชาติของเด็ก เพียงเพราะอ้างว่ารักและหวังดี เลิกอ้างได้หรือยังครับ#เจ้ากระทรวงครับท่านลงไปดูลูกๆหน่อยเถอะอย่ามัวแต่ฟังในกระทรวงกรมกอง เพราะท่านจะไม่เห็นภาพความจริง

 

Sponsored Ad

 

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

    โรงเรียนต่างๆเหล่านี้ ล้วนดังมีชื่อ เสียง #คุณครูครับ ช่วยกระตุกต่อมจิตสำนึกและดึงจิตวิญญาณ ความเป็นครูกลับมาทีเถอะ ดูแลลูกหลานด้วยความรัก และหัวใจ ถ้าหมอมีมนต์ อยากจะเป่าให้ระบบแพ้คัดออก โดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ หมดไปจากโลก  #ขอสัพเพสัตตาให้ระบบแพ้คัดออกไปสู่สุขติภพ อย่าได้มาผุดเกิดอีกเลย #อนิจจาสงสารลูกจับใจ แม่ๆ พ่อๆ ทุกท่าน ดึงหัวใจลูกด้วยพลังบวกนะครับ #บันทึกหมอเดว24 สค.2562

Sponsored Ad

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

    ปล. #โชคดีที่แม่ได้หัวใจลูกกลับคืน ไม่เป็นหุ่นยนต์แล้ว แม่เข้าใจให้ความร่วมมือ แต่ยากมากสำหรับครู และระบบการศึกษาไทย เกิดอะไรขึ้นที่เข้าใจยากจัง 

     จากโพสต์นี้ของคุณหมอก็สะท้อนให้เราเห็นว่า การเรียนในทุกวันนี้มีการแข่งขันสูง จึงทำให้บางครั้งครอบครัวก็คาดหวังกับลูกๆหลานๆ มากจนเกินไป และทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุขในการเรียน และสุดท้ายธรรมชาติในตัวเด็กทุกคนก็หายไปเพราะได้รับความกดดันมากเกินไป

อ่านบทความเพิ่มเติม : "หมอเดว" แพทย์ผู้เสียสละ สู้เพื่อช่วยลูกหลานไทย ได้มีอนาคตที่ดี

ที่มา : บันทึกหมอเดว

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ