ลูกสาวประธานหัวเว่ย เปิดใจ หลังบินกลับถึงจีน หลังโดนแคนาดาคุมตัว 3 ปี ชาวเมืองจัดพิธีต้อนรับสุดอลัง

คอมเมนต์:

ถึงขั้นปูพรมต้อนรับกันเลยทีเดียว

    อีกหนึ่งข่าวที่ดังไปทั่วโลกเมื่อ 3 ปีก่อน หลังลูกสาวของผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ถูกควบคุมตัวที่ประเทศแคนาดา จนสร้างความไม่พอใจให้จีนเป็นอย่างมาก เพราะมองว่าเป็นการควบคุมตัวแบบผิดกฎหมาย

    และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เว็บไซต์ Asiaone และ CNBC ได้รายงานว่า เมิ่ง ว่านโจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัทหัวเว่ยที่เป็นลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ได้รับการปล่อยตัวและเดินทางกลับมาถึงประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

Sponsored Ad

 

    ย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2561 เธอได้ถูกควบคุมตัวที่สนามบินนานาชาติแวนคูเวอร์ ในแคนาดา ตามการแจ้งจับของทางสหรัฐฯ ในข้อหาฉ้อโกงสถาบันการเงินหลายแห่ง ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมในอิหร่าน โดยถูกมองว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของทางสหรัฐฯ

 

Sponsored Ad

 

    จากถูกควบคุมตัวครั้งนี้ได้กลายเป็นคดีดัง จนสร้างความร้าวฉานระหว่างจีนและแคนาดาเป็นอย่างมาก ทางการจีนเรียกร้องหลายครั้งให้แคนาดาปล่อยตัวเธอ แต่ไม่เป็นผล และได้ตอบโต้ด้วยการควบคุมตัวพลเมืองแคนาดา 

    โดยสั่งตัดสินจำคุกนักธุรกิจชื่อดังชาวแคนาดา เป็นเวลา 11 ปี ฐานจารกรรมข้อมูล หลังจากนั้นก็ตัดสินประหารชีวิตพลเมืองแคนาดาอีกคนคดียาเสพติด จนทำให้นายกฯแคนาดาและทูตสหรัฐต้องออกมาตอบโต้ว่า นี่เป็นการ "ใช้มนุษย์เป็นเครื่องต่อรองให้ปล่อยพลเมืองของตัวเอง”

 

Sponsored Ad

 

    แน่นอนว่า หลังจากเวลาผ่านไป 3 ปี เมิ่ง ว่านโจว ก็ได้รับพิพากษาให้ถูกปล่อยตัวให้เป็นอิสระ และหลังจากนั้นไม่นาน ทางการจีนก็ได้ปล่อยตัวพลเมืองชาวแคนาดาด้วยเช่น พร้อมกับบอกว่า 2 คดีนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด

 

Sponsored Ad

 

    หลังจากนั้น เมิ่ง ว่านโจว ก็ได้เดินทางกลับมาเมืองจีนทันที และได้รับการต้อนรับกลับบ้านอย่างอบอุ่นยิ่งใหญ่ มีคนจำนวนมากไปรอต้อนรับและให้กำลังใจ โดยมีเพื่อน ครอบครัว ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมาร่วมต้อนรับเธอกลับสู่แผ่นดินบ้านเกิด

    เธอได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ในฐานะคนจีนธรรมดาคนหนึ่ง ฉันภูมิใจในบ้านเกิดของฉันเป็นอย่างมาก และขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการการช่วยเหลือ หลังจากต้องทนทุกข์ไปติดอยู่ในต่างประเทศนานถึง 3 ปี...

ที่มา :  เอเชียวันซีเอ็นบีซี

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ