ย้อนความรู้ ครั้น "สาวสมัยอยุธยา" ต้องทำท่า "พับเป็ด" ก่อนถวายตัวเป็นมเหสี

คอมเมนต์:

ย้อนความรู้ ครั้น "สาวสมัยอยุธยา" ต้องทำท่า "พับเป็ด" ก่อนถวายตัวเป็นมเหสี

    การนำหญิงสาวถวายตัวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ ถือเป็นธรรมเนียมตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อคอยปรนนิบัติรับใช้และพยุงฐานะ ซึ่งการถวายตัวต้องผ่านการฝึกฝน ท่ากามสูตรบางท่าตั้งแต่เล็ก...

    สำหรับ "การถวายตัว" ถือเป็นธรรมเนียมโบราณมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือการนำลูกสาวหรือหลานสาว ทูลเกล้าถวายตัวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ เป็นไปเพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของสมาชิกในตระกูลตนด้วยเช่นกัน จึงทำให้พระราชสำนักฝ่ายในคับคั่งไปด้วยสุภาพสตรีที่คอยปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งการถวายตัวเป็นมเหสีของกษัตริย์ พระแท่นบรรทมจะอยู่ใต้เศวตฉัตร เจ้าจอม หรือผู้หญิงจากการถวายตัว จะขึ้นไปนอนบนพระแท่นบรรทมไม่ได้ จะมีพระแท่นรองเวลาถวายงาน เท้าเจ้าจอมจะชี้ไปที่พระแท่นก็ไม่ได้ จึงมีท่ากามสูตรที่จะเก็บเท้าไม่ให้ชี้ ผู้หญิงมีตระกูลที่จะถวายตัว ต้องฝึกท่าที่คล้ายคลึงกับท่าโยคะบางท่าตั้งแต่เล็ก  (พิทยา บุนนาค, 2552,น. 43)

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ บรรดาหญิงสาวต้องผ่านการล้างและอบร่ำอวัยวะช่วงล่างอย่างพิถีพิถัน โดยต้องอาบน้ำ ทาขมิ้น พรมน้ำอบแต่งตัวสวยงาม หลังจากนั้นต้องนั่งบนกระโถนสักพักใหญ่ ซึ่งในกระโถนนั้นจะมีของหอมกลิ่นแรงใส่ไว้ เพื่อรมให้อวัยวะสืบพันธุ์และช่องคลอดนั้นหอม โบราณเรียกการเตรียมตัวนี้ว่า “อบเต่า” จากนั้นจึงถือว่าพร้อม เพราะหอมทั้งนอกและใน

   รวมทั้ง "ท่า" แรกในการถวายตัวคือ พนมมือนอนหงายในท่า "พับเป็ด" เพื่อไม่ให้เท้าของหญิงที่กษัตริย์กำลังทรงร่วมเพศ ไปสัมผัสพระวรกายของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งตามความเชื่อชาวสยาม เท้าเป็นของต่ำ ไม่สามารถถูกหรือสัมผัสพระเจ้าแผ่นดิน ที่ประหนึ่งเทพเจ้าอันสูงสุดได้แม้แต่เพียงพระบาทของพระองค์ ฉะนั้นท่าพับเป็ดของผู้หญิงจึงกลายเป็นท่าแรกและท่าบังคับตามจารีตประเพณี แต่ท่าร่วมเพศหลังจากนั้น จะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมส่วนพระองค์

 

Sponsored Ad

 

    แต่ถึงกระนั้นบางท่าบางลีลาน่าเป็นท่าต้องห้าม เพราะในสังคมสยามที่เชื่อถือกันมายาวนานแล้วว่า ศีรษะหรือผมเป็น “ของสูง” ห้ามให้ผู้อื่นไปสัมผัสอวัยวะดังกล่าว หรือแม้แต่การเอื้อมมือกรายข้ามหรือการสัมผัสลอมพอกก็ตามเพราะถือว่าเป็นการดูถูกดูแคลนอย่างมหันต์ (มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, สันต์ ท.โกมลบุตร,ผู้แปล,,2548,น. 180)

     ขณะที่ แฟนเพจเฟซบุ๊ก ร้อยเรื่องราว ไปกับ เจ้าคุณปราบสุราพินาศ ระบุเกี่ยวกับเรื่องการถวายตัวว่า ท่าสัปตะวัชราสนะ คือ ท่าถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ครั้งแรก ซึ่งท่าสัปตะวัชราสนะ ท่าบังคับตามจารีตโบราณราชประเพณี แต่หลังจากท่าบังคับแล้วทีนี้ก็เป็นไปตามพระราชนิยมส่วนพระองค์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในบางท่าบางลีลาก็ยังเป็นท่าที่ต้องห้าม เพราะว่าในสังคมของสยามนั้น เชื่อว่าศีรษะเป็นของสูง จึงห้ามไม่ให้ผู้อื่นไปสัมผัสอวัยวะดังกล่าว

 

Sponsored Ad

 

     ในการหลับนอนกับพระเจ้าแผ่นดินนั้น ไม่เพียงแต่ “ท่าทาง” ที่ถูกกำหนด แต่ “ที่ทาง” ก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระองค์ เนื่องจากผู้ที่เป็นกษัตริย์เท่านั้นที่สามารถบรรทมใต้นภปดลเศวตฉัตรซึ่งแขวนอยู่เหนือพระแท่นบรรทม ผู้อื่นมิสามารถอยู่ใต้ร่มของพระมหาเศวตฉัตร 9 ชั้นนั้นได้ ซึ่งพระแท่นบรรทมของกษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่1-4 ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน มีลักษณะ 4 เสา มีโครงหลังคาทำด้วยไม้ฉลุ มีที่พำนัก 3 ด้าน ขึ้นลงได้ด้านเดียว ซึ่งเป็นอิทธิพลจากราชสำนักจีน

 

Sponsored Ad

 

    ด้านหน้าพระแท่นบรรทมพบว่ามีเตียงขาคู่ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า “พระแท่นลด” มีความสูงลดต่ำลงมา ประมาณ 1 ศอก เพื่อให้บาทบริจาริกาถวายอยู่งานนวด และเพื่อไม่ให้นางในที่ถวายงานอยู่ใต้พระมหาเศวตรฉัตรด้วย(เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)

    พระแท่นลดนั้นมีขนาดกว้างมาก จึงสันนิษฐานได้ว่ากิจกรรมทางเพศของพระเจ้าแผ่นดินน่าจะประกอบบนบริเวณพระแท่นลดนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 - 4 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชนชั้นสูงสยามได้รับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น พระแท่นบรรทม จึงมีหัวเตียงปลายเตียง ขึ้นลงได้ 2 ทาง ซ้ายและขวา

 

Sponsored Ad

 

    เห็นได้จากห้องบรรทมในพระที่นั่งอัมพรสถาน แต่ด้านข้างของพระแท่นบรรทมพบว่าทั้งซ้ายขวาเป็นเตียงลดต่ำลงมาทั้งสองข้าง(เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)ซึ่งไปสู่ข้อสังเกตเกี่ยวกับการถวายตัว และ ถวายงานของบาทจาริกาในพระองค์ว่าอาจมีจำนวน 1 คนขึ้นไป เพราะมีพระแท่นเพิ่มขึ้น

สรุป คือ กฎมีอยู่ 2 อย่าง 

Sponsored Ad

1. ห้ามเท้าต้องพระวรกาย

2. ห้ามมือต้องพระเกศา

ส่วนท่าพับเป็ดนั้น มีนักวิชาการหลายๆ คน เสนอว่าควรมีท่าทางอย่างไร

แบบที่ 1

แบบที่ 2

ที่มา : พิทยา บุนนาค, เผ่าทอง ทองเจือ, นพ.วิบูล วิจิตรวาทการ, สุริโยไท, แฟนเพจเฟซบุ๊ก ร้อยเรื่องราว

บทความที่คุณอาจสนใจ