ไขข้อสงสัย "ถ้ำนาคา" จ.บึงกาฬ งูยักษ์กลายเป็นหิน พาคนศรัทธาพญานาค อ.เจษฎ์ ออกโรงอธิบายเอง

คอมเมนต์:

#ถ้ำนาคา ที่มางูยักษ์กลายเป็นหิน พาผู้คนศรัทธาพญานาค ไขปริศนา แท้จริงเกิดจากอะไร!?

    กำลังเป็นที่พูดถึงและมาแรงมากๆ เห็นได้จากเหล่าดาราและอินฟลูเอนเซอร์เมืองไทย พากันเดินทางไปยัง ถ้ำนาคา  อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ กันบ่อยๆ เนื่องจากมีหินลักษณะคล้ายกับลำตัวของงูยักษ์ขดตัวไปมา ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

    สถานที่แห่งนี้ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งสายมู สายธรรมชาติ หรือสายโซเชียลทั้งหลาย ต่างอยากมาชมความงดงามนี้ด้วยตาตัวเองสักครั้ง โดนเฉพาะสายมูที่มีความศรัทธาและความเชื่อเรื่องพญานาค ว่านี่อาจจะเป็นงูยักษ์ที่กลายเป็นหินก็เป็นได้

 

Sponsored Ad

 

ภาพของ ถ้ำนาคา  อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

    ล่าสุด ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ความรู้ในมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ว่า ลักษณะหินที่เห็นนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติเรียกกันว่า ซันแครก (Suncrack)

 

Sponsored Ad

 

ภาพจากเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant

    โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิด "หมอนหินซ้อน" ที่เกิดจากการแตกของผิวหน้าของหิน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปมาของอุณหภูมิที่แตกต่างในเวลากลางวัน (ร้อน) และกลางคืน (เย็น) อย่างรวดเร็ว

 

Sponsored Ad

 

    ทำให้หินเกิดการขยายตัวและหดตัวสลับกันไปมา จนเริ่มแตกเป็นรูปหลายเหลี่ยมได้ ต่อมาเมื่อมีการผุพัง จากการกัดเซาะโดยน้ำฝนและกระแสอากาศในแนวดิ่ง ทำให้บริเวณนั้น ดูเป็นลักษณะเหมือนหมอนที่วางซ้อนกัน เป็นชั้นขนานไปกับแนวของชั้นหินเดิม ส่วนการเห็นเป็นงูใหญ่นั้น ก็ขึ้นกับความบังเอิญ มุมที่มอง และจินตนาการของแต่ละคน ตามความเชื่อด้วย

    ส่วนประวัติของถ้ำนาคานั้น ตามตำนานความเชื่อเรื่อง "เจ้าปู่อือลือ" ที่ถูกสาปให้เป็นพญานาคและถูกจองจำ โดยจะพ้นคำสาปและทำให้พื้นที่นั้นได้เป็นที่รู้จักและเจริญรุ่งเรืองก็ต่อเมื่อครบ 10 ปี 

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งสอดคล้องกับการครบรอบการก่อตั้งจังหวัดบึงกาฬ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2563 ทำให้ผู้ที่ได้มาพบเห็นถ้ำแห่งนี้เกิดการกระจายข่าวไปตามความเชื่อส่วนบุคคลจนเป็นที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน โดยถ้ำนาคาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ที่มา : kapook, อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม - Phulangka National Park Thailand

บทความที่คุณอาจสนใจ