ย้อนชม "ใบอนุญาตให้มีภรรยา" ข้าราชสำนัก ร.5 เรื่องจริงในอดีต มีเมียต้องขออนุญาตด้วย!

คอมเมนต์:

ในอดีตมีเมีย ต้องขออนุญาตด้วยนะเนี่ย...

    ในปัจจุบันนี้ การจะมีเมียแต่ละครั้ง คงไม่ยากเกินไป ว่ากันแค่ตามทฤษฎี เพียงจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอ คุณก็จะได้เป็นสามีภรรยากันแบบถูกต้องตามกฏหมายแล้ว

ใบขออนุญาติมีภรรยา ถูกต้องตามกฎมณเฑียรบาล ของ จ่า นายจ่ารง (แจ่ม สุนทรเวช) กับนางสาวอุทุมพร วีระไวทยะ

    แต่จากเว็บไซต์จดหมายเหตุวชิราวุธ โดย อ.วรชาติ มีชูบท ได้เผยว่า ชายไทยในสมัยร.๕ นิยมสมจรด้วยหญิงเป็นครั้งคราว โดยอาการที่เรียกว่าเป็น "เมียลับ" คือไม่ออกหน้า และมิได้ร่วมอยู่เคหะสถานกันนั้น ไม่เป็นที่ต้องด้วยพระราชนิยม เพราะหญิงที่ประพฤติตนเช่นนั้น มักจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า "หญิงนครโสเภณี" หรือหญิงที่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าน่าที่ปกครองท้องที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค และ "หญิงแพศยา" ซึ่งเป็นหญิงที่มิใช่หญิงนครโสเภณี แต่มักสมจรกับชายหลายคนโอยอาการอันสำส่อนไม่เป็นระเบียบ

 

Sponsored Ad

 

    ใน พ.ร.บ กฎมณเฑียรบาลนี้ จึงมีบทบัญญัติให้ข้าราชการในพระราชสำนักที่มีภรรยาแล้วต้องไปลงทะเบียนระบุนามภรรยาทุกคนทั้งที่ยังอยู่ด้วยกัน หย่าขาดจากกันแล้ว รวมทั้งนามภรรยาที่ถึงแก่กรรมแล้วทุกคน ไว้กับนายทะเบียนครอบครัวแห่งพระราชสำนัก โดยห้ามจดทะเบียนหญิงที่ได้ชื่อว่าเป็นหญิงนครโสเภณีหรือหญิงแพศยาเป็นภรรยาของข้าราชสำนักโดยเด็ดขาด

    การที่กฎหมายไทยในสมัยนั้นเปิดช่องให้ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน ทั้งที่เป็น "เมียแต่ง เมียน้อย หรือเมียลับ" นั้น ทรงพระราชดำริว่า อาจนำมาซึ่งปัญหาและข้อยุ่งยากต่างๆ ดังกรณี "พญาระกา" ซึ่งบานปลายกลายเป็นความวุ่นวายในกระทรวงยุติธรรมในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๕ )

 

Sponsored Ad

 

    จนต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(พระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๖) เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จไปทรงกำกับราชการในกระทรวงนั้นจนเหตุวุ่นวายนั้นจนความวุ่นวายนั้นสงบลง ข้าราชสำนักที่ประสงค์จะมีภรรยาภายหลังจากกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ มีผลใช้บังคับแล้วหรือยังไม่เคยมีภรรยาแต่ประสงค์จะทำการสมรสกับหญิงใด ท่านให้ทำหนังสือขออนุญาตมีภรรยา ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยในหนังสือขออนุญาตนั้นให้แสดงความดังต่อไปนี้

 

Sponsored Ad

 

(ภาพสตรีชั้นสูงในสมัย รัชกาลที่ ๕)

    ๑. ยศ บรรดาศักดิ์ และนามเดิม นามสกุล กับตำแหน่งราชการ

    ๒. อายุ ปีเกิด

 

Sponsored Ad

 

    ๓. รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละเท่าใด

    ๔. ได้รับผลประโยชน์นอกจากทางราชการอย่างใดบ้าง

    ๕. ได้มีภรรยาอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามีชื่อไร

    ๖. ผู้ที่จะตกแต่งหรือเป็นภรรยาใหม่นั้น ชื่อไร

 

Sponsored Ad

 

    ๗. นามบิดามารดาของหญิง และชาติใด ในบังคับรัฐบาลใด

    ๘. หลักฐาน คือบิดามารดาหรือตัวหญิงนั้นมีทางทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไรอยู่หรือไม่ มีทรัพย์สมบัติอย่างไรบ้าง

    ๙. หญิงนั้นมีอายุเท่าไร เกิดปีอะไร

    ๑๐. หญิงนั้นเคยมีผัวแล้วหรือยัง ถ้าเคยมีแล้ ให้ชี้แจงด้วยว่า ผัวหย่าหรือเป็นม่ายโดยมรณภาพแห่งผัว

    ๑๑. ความประพฤติของหญิงนั้น เท่าที่รู้เห็นอยู่เป็นอย่างไร

    เมื่อผู้บังคับชาของผู้ขออนุญาตมีภรรยาได้รับหนังสือขออนุญาตนั้นแล้ว ท่านให้สอบสวนดูให้ได้ความแน่นอน ว่าตามรายการที่มีอยู่ในหนังสือนั้นเป็นการถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ถูกต้องให้พูดจาว่ากล่าวให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขข้อความเสียให้ถูกต้อง เมื่อถูกต้องแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงนั้นตรวจสอบว่า

 

Sponsored Ad

 

    ๑. ผู้ขอมีภรรยาเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงพอควรแก่ยศบรรดาศักดิ์และตำแหน่ง

    ๒. ได้รับพระราชทานเงินเดือนพอสมควรจะเลี้ยงครอบครัวได้

    ๓. มีอายุเกินกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปีที่ ๑๙ แล้ว

    ๔. เป็นผู้ที่รู้จักผิดและชอบ ไม่เหลวไหลลังเล

    ๕. เป็นผู้มีเคหะสถานเป็นหลักแหล่งหรือจะได้มี เมื่อมีภรรยา

    ๖. เป็นผู้ที่ไม่มีกามโรคเรื้อรังประจำตัวอยู่ยังไม่หาย

    ๗. หญิงที่จะเป็นภรรยาเป็นผู้มีหลักฐาน ไม่ใช่หญิงนครโสเภณีหรือหญิงแพศยา หรือหญิงที่มักสมจรสำส่อน

    ๘. หญิงนั้นมีอายุเกินกว่า ๑๖ ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปี่ที่แล้ว

Sponsored Ad

    ๙. หญิงนั้นมิใช่ภรรยาผู้อื่นอยู่ในขณะที่ขออนุญาต

    ๑๐. หญิงนั้นมิใช่ผู้ที่หย่ากับสามีเพราะมีชู้

    ซึ่งผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้ตรวจสอบตลอดแล้ว ท่านให้ลงความเห็นของตนกำกับลงในหนังสือนั้น ว่า "เห็นสมควร" หรือ "ไม่เห็นสมควร" สุดแท้แต่ความเห็น ถ้าไม่เห็นสมควรต้องอธิบายด้วยว่าเพราะเหตุใด

     หลังจากได้ตรวจและลงความเห็นแล้ว จึงให้ส่งหนังสือพร้อมด้วยความเห็นขึ้นไปยังผู้บังคับบัญชาโดยตรงเหนือตนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง และให้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นลำดับไปจนถึงผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุดในกรมแห่งผู้ขออนุญาต เว้นแต่ผู้ขออนุญาตเป็นข้าราชการตั้งแต่ชั้นยศเสวกเอก หรือนายพันเอก และหัวหมื่นขึ้นไป รวมทั้งมหาดเล็กห้องพระบรรทมทุกชั้นยศต้องนำความกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตด้วย

    เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต หรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งกรมของผู้อนุญาตได้พิจารณาเห็นสมควรให้ผู้ขอมีภรรยาได้แล้ว ท่านให้ทำใบอนุญาต ลงนามและประทับตราตำแหน่งผู้อนุญาตให้ไว้เป็นสำคัญ ซึ่งผู้ขออนุญาตต้องมีฐานะ ยศ บรรดาศักดิ์พอสมควร มีบ้าน มีเงินเดือน พอที่จะเลี้ยงดูเมียใหม่ได้นั่นเอง ส่วนผู้อนุญาตได้จะต้องเป็นข้าราชการระดับสูงเท่านั้น

ที่มา : จดหมายเหตุวชิราวุธ โดย อ.วรชาติ มีชูบท

บทความที่คุณอาจสนใจ