เปิดชีวิต "น้องอดุลย์" 1 ใน 13 หมูป่า จากเด็กไร้สัญชาติ สู่ได้รับทุนเรียนต่อที่สหรัฐฯ ตั้งเป้าเรียนแพทย์

คอมเมนต์:

นอกจากโอกาสที่ได้รับแล้ว อดุลย์ยังพยายามตั้งใจพัฒนาตนเอง กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้

    เรื่องราวของ "อดุลย์ สามอ่อน"  1 ใน 13 หมูป่า กลายมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง โดยน้องอดุลย์คือคนที่สื่อสารกับนักดำน้ำกลุ่มแรกที่เข้าไปช่วยเหลือ ที่ตะโกนถามไปว่า "พวกเธอมีกันกี่คน" จากนั้นมีเสียงน้องอดุลย์พูดภาษาอังกฤษตอบกลับว่า "13 คนครับ"

    นับจากเหตุการณ์วันนั้นจนถึงวันนั้นผ่านมาแล้วกว่า 4 ปี ชีวิตของน้องอดุลย์เปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก จากเด็กไร้สัญชาติ สู่การได้รับทุนเรียนต่อที่สหรัฐฯ 

 

Sponsored Ad

 

    ปัจจุบัน อดุลย์ อายุ 18 ปี และมิถุนายนนี้ จะเข้า 19 ปี เป็นนักเรียนมัธยมชั้นปีที่ 6 หรือเกรด 12 ของโรงเรียน "เดอะ มาสเตอร์ส สคูล" (The Masters School) ในเมืองด็อบบ์ส เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ หลังได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษาต่อหลังจบมัธยมชั้นปีที่ 3 จากประเทศไทย และเป็นคนแรกที่ได้รับทุนให้ศึกษาต่อในโลกตะวันตก

    ซึ่ง อดุลย์ ได้เปิดใจกับบีบีซีไทยว่า จากเหตุการณ์ถ้ำหลวง นำมาสู่การเปิด "โอกาส" และ "เปิดโลก" สำหรับตนเป็นอย่างมาก หลังออกมาจากถ้ำหลวงนั้นเยอะมาก     แต่ "ผมมองว่าเป็นโอกาสและประสบการณ์ที่ดีมาก" และยังทำให้เด็กขี้อาย เติบโตกลายมาเป็นเด็กที่กล้าแสดงออกกล้าฝันไกล และตอนนี้ตนก็มีความฝันอยากศึกษาต่อแพทย์ศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยที่อเมริกาอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้แล้วอีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่เกิดหลังภายกิจถ้ำหลวง คือ การได้รับสัญชาติไทย โดยไทยพีบีเอสรายงานว่า ออกมาจากถ้ำหลวงได้เพียง 1 เดือน ทางการไทยได้จัดพิธีมอบสัญชาติให้สมาชิกทีมหมูป่า 3 คน คือ อดุลย์, ด.ช. มงคล บุญเปี่ยม และโค้ชเอกพล จันทะวงษ์ (ในขณะนั้นเป็นพระเอกพล)

    ซึ่งทางด้านนายอำเภอแม่สาย ก็ได้ออกมาเปิดเผย พร้อมกับยืนยันว่า การมอบสัญชาติให้ทั้งสาม "ไม่เกี่ยวกับการติดถ้ำหลวง" แต่เป็นไปตามกระบวนการ

    อย่างไรก็ตาม กว่าจะจะมาถึงจุดนี้ ไม่ได้มาเพียงเพราะชื่อเสียง แต่ได้มาเพราะความพยายามและฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ อย่างยากลำบาก เพราะกว่าจะได้ทุนของ เดอะ มาสเตอร์ส สคูล ในเมืองด็อบบ์ส เฟอร์รี ในรัฐนิวยอร์ก นั้น มีสถิติการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 100% ซึ่งอดุลย์ต้องฝ่าอุปสรรคด่านแรก นั่นก็คือ การสอบวัดระดับภาษาโทเฟล (TOEFL)

 

Sponsored Ad

 

    โดยตอนนั้น อดุลย์ ที่ศึกษาอยู่ ม.1 จึงไปสอบโทเฟลในเดือน มี.ค. 2562 แต่ผลคะแนนได้ 30 เต็ม 120 คะแนน แม้ผลคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ทางโรงเรียนยังให้โอกาส

    อดุลย์ จึงทุ่มเทเวลา 2 ปีต่อจากนั้น เพื่อติวเข้มภาษาอังกฤษ กับอาจารย์ชาวอังกฤษ รวมถึงได้รับทุนไปเรียนภาษาที่เมืองซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนสอบโทเฟลใหม่อีกครั้ง หลังจากเห็นพัฒนาการที่ดี ทางโรงเรียนจึงตัดสินใจให้ทุนการศึกษาอดุลย์ในที่สุด

    สำหรับ เดอะ มาสเตอร์ส สคูล เป็นหลักสูตรการเรียนที่เน้นกิจกรรม การพัฒนาทักษะทั้งความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ให้แก่เด็ก ๆ โดยมีค่าเทอมต่อปีถึง 2.5 ล้านบาท สำหรับนักเรียนประจำที่อาศัยหอพักของโรงเรียนแบบเต็มสัปดาห์

 

Sponsored Ad

 

    อดุลย์ ยอมรับว่าในช่วงแรก ปรับตัวลำบาก ได้แค่นั่งฟังทั้งคาบ ตอบโต้ไม่ได้เลย แต่ก็ไม่ยอมแพ้ พยายามฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นซึ่งทางโรงเรียนและเพื่อน ๆ ต่างชาติ ล้วนให้การสนับสนุน ทำให้ชีวิตในช่วง ม.6 หรือเกรด 12 ตอนนี้ทุกอย่างลงตัว เรียนได้เหมือนปกติ

    นอกจากนี้อดุลย์ยังบอกอีกว่า "คนที่นี่ เขาให้ความเป็นส่วนตัวกับทุกคนมาก ไม่มีใครมองว่าเราเป็นเด็กที่อยู่ในถ้ำ เป็นเด็กมีชื่อเสียง ผมไม่ได้โดดเด่นอะไร เป็นแค่คนปกติ" ซึ่งต้องยอมรับว่าแตกต่างจากสมัยอยู่ที่ประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งวัฒนธรรมอเมริกันที่เคารพในสิทธิการพูดที่อยู่ในกรอบของการเคารพ "ความเป็นส่วนตัว" และการไม่ใช้คำพูดที่ทำให้ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์เลวร้าย "เจ็บปวด" จากการต้องคิดถึงสิ่งที่ตนเองเผชิญ

 

Sponsored Ad

 

    "เขามีเสรีภาพในการพูดก็จริง แต่ว่าเขาก็ต้องระวังด้วยว่าพูดอะไร... เพราะเขาไม่อยากให้เรารู้สึกเจ็บปวด"

    อดุลย์ ยังได้เปิดใจถึงความฝันของตัวเองหลังจากจบ ม.6 หรือเกรด 12 ว่า ตอนนี้ตนได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ตั้งใจศึกษาในสาขา “พรีเมดิคัล” หรือหลักสูตรการศึกษาก่อนเข้าแพทยศาสตร์ ซึ่งประเมินแล้ว จะต้องใช้เวลาเรียนและเป็นแพทย์ฝึกหัด เกือบ 10 ปี

 

Sponsored Ad

 

    สาเหตุที่อยากเป็นหมอก็เพราะ พ่อแม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ เพราะป่วยง่าย เมื่อตอนนี้โอกาสมาถึงแล้ว ก็อยากตั้งใจเรียนหมอ "เพื่อทำอะไรให้พ่อแม่บ้าง" และอยากเปิดคลินิกสุขภาพในบ้านเกิด เพื่อช่วยเหลือด้านสุขภาพและสาธารณสุขแก่ชาวบ้าน

ที่มา : bbcluvmn_a

บทความที่คุณอาจสนใจ