"ผักแขยง" ผักทำเงิน ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย ไม่ต้องดูแล สร้างรายได้ 2,000 บาท/ วัน

คอมเมนต์:

"ผักแขยง" ผักทำเงิน ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย ไม่ต้องดูแล สร้างรายได้ 2,000 บาท/ วัน

    สถานการณ์น้ำน้อยทางภาคอีสานดูจะสร้างปัญหาให้กับอาชีพปลูกข้าวของชาวบ้านหลายพื้นที่จนต้องหาทางปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทน

    อย่างชาวบ้านที่ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขานรับแนวทางของภาครัฐเพื่อที่จะปลูกพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอย่างผักขะแยง ซึ่งมีคุณสมบัติใช้น้ำน้อย อายุสั้น เก็บเกี่ยวมีรายได้แบบวันต่อวัน

 

Sponsored Ad

 

    ลักษณะการปลูกผักขะแยงของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้จะใช้พื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวหรือพื้นที่บริเวณบ้านที่มีจำนวนเนื้อที่แตกต่างกันตามกำลังของครัวเรือน โดยชาวบ้านจะรวมตัวเป็นกลุ่มทั้งหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งวิธีการปลูก การดูแล รวมไปถึงการขาย จนเกิดความเข้มแข็งสร้างรายได้หลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน จนได้รับการกล่าวขานว่า “หมู่บ้านผักขะแยงเงินล้าน”

 

Sponsored Ad

 

    คุณแพ พรมวิจิตร บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 14 ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (087) 870-4290 ทำอาชีพปลูกผักขะแยงกับบัวบกสร้างรายได้มานานเกือบ 10 ปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยออกไปทำงานยังจังหวัดต่างถิ่น แต่ต้องประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับครอบครัว

    คุณแพเริ่มปลูกผักขะแยงในพื้นที่เพียง 2 ไร่ แล้วแบ่งพื้นที่ประมาณ 2 งาน เพื่อปลูกข้าวนาปรังไว้บริโภคในครัวเรือน เธอบอกว่าผักขะแยงจะเริ่มปลูกเดือนมีนาคม จะมีการปรับพื้นที่ด้วยการไถพรวนก่อนแล้วนำเบี้ยหรือต้นกล้าที่ได้จากแปลงเพาะต้นกล้ามาปลูกดำให้มีระยะห่างต้นสัก 1 คืบ แล้วยังไม่ต้องใส่ปุ๋ย

 

Sponsored Ad

 

    จากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าในพื้นที่ปลูกสูงสัก 2 ข้อนิ้วมือ รอสัก 1 สัปดาห์ จึงเริ่มใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ประมาณ 1 ถังน้ำ ในพื้นที่ต่อ 1 งาน แล้วจะหว่านปุ๋ยสูตรนี้อีกครั้งเมื่อสังเกตว่าใบมีสีเหลืองเพราะแสดงว่าขาดปุ๋ย อย่างไรก็ตาม น้ำในแปลงปลูกผักขะแยงไม่ควรปล่อยให้แห้ง และควรเติมน้ำเข้าเมื่อระดับน้ำลดต่ำ

 

Sponsored Ad

 

    แมลงศัตรูที่พบคือ ตัวบุ้ง คุณแพแจงว่า ตัวบุ้งมักจะมาทำลายต้นผักขะแยงในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งจะต้องใส่ยาป้องกันจำนวน 1 ช้อน ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่น ส่วนโรคไม่เคยพบเนื่องจากเป็นพืชผักทางธรรมชาติจึงมีความแข็งแรง

    หลังจากปลูกเป็นเวลาประมาณ 45 วัน ผักขะแยงจะเจริญเติบโตเป็นกอขนาดใหญ่ จึงเริ่มเก็บผลผลิตด้วยการใช้วิธีดึงออกมาทั้งกอ แต่ต้องเหลือปล่อยไว้สักกอละ 4-5 ต้น เพื่อให้มีการขยายพันธุ์ แล้วใส่ปุ๋ยอีก จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ จะเก็บรุ่นต่อไปได้อีก

 

Sponsored Ad

 

    ในแต่ละครั้งจะเก็บผักขะแยงได้ 100-200 ถุง (ถุงละ 100 กรัม) แล้วขายถุงละ 50-60 บาท ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา เพราะถ้าหน้าร้อนผักขะแยงมีราคาสูงเพราะปลูกยาก คุณแพ บอกว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านตำบลบุ่งหวาย ปลูกผักขะแยงกันทุกครอบครัวเนื่องจากผักชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดจึงมีรายได้ดีอย่างต่อเนื่อง

 

Sponsored Ad

 

    คุณแพเผยถึงรายได้จากการเก็บผักขะแยงขายว่า ถ้าในช่วงที่เก็บได้มากสุดแล้วผักมีราคาสูงจะมีรายได้ถึงวันละ 2,000 บาท แล้วจะเก็บทุกวัน แต่หลังจากเดือนเมษายนเป็นต้นไปราคาผักขะแยงเริ่มลดลงเหลือประมาณ 40 บาท ต่อถุง ทำให้รายได้ค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ในรอบการปลูกต่อไปเธอตั้งใจจะเพิ่มพื้นที่ปลูกผักขะแยงให้มากขึ้น เพราะจะได้มีผลผลิตจำนวนมากพร้อมกับมีรายได้เพิ่มขึ้นมากด้วย

    “ผักหนอก” หรือชื่อที่คุ้นคือ “บัวบก” เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่ชาวบ้านในหมู่บ้านตำบลบุ่งหวายนิยมปลูกกัน คุณแพ บอกว่า ภายหลังที่มีรายได้ดีจากการปลูกผักขะแยงขาย จึงตัดสินใจปลูกบัวบกเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างรายได้เสริมเข้ามาอีกในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่

Sponsored Ad

    คุณแพปลูกบัวบกโดยใช้เมล็ด โดยครั้งแรกจะซื้อเมล็ดพันธุ์มาก่อน พอปลูกไปแล้วในรุ่นต่อไปจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ซึ่งการปลูกบัวบกจะหว่านเมล็ดพันธุ์ในแปลงเพาะต้นกล้า จากนั้นแยกต้นกล้าที่สมบูรณ์มาปลูกในแปลงที่มีการเตรียมพื้นที่ไถพรวนพร้อมกับยกร่องไว้แล้ว โรคที่พบกับบัวบกคือ คอแดง จะป้องกันด้วยการฉีดยาสัปดาห์ละครั้ง

    ต้นบัวบกที่แข็งแรงจะรดน้ำวันละครั้ง พร้อมกับใส่ฝุ่นขี้ไก่ใส่ในแปลงแล้วรดน้ำตามอีกครั้ง โดยใช้เวลาประมาณ 45-50 วัน จึงเก็บผลผลิตด้วยการใช้เสียมแซะต้นดึงออกมาแล้วจึงเก็บจะใส่ถุงละ 5 กิโลกรัม ขายถุงละ 50 บาท โดยจะมีแม่ค้าสั่งวันละ 20 ถุง ทำให้มีรายได้ถึงครั้งละ 1,000 บาท

    คุณแพ บอกว่า ผักแต่ละชนิดจะไม่เก็บขายพร้อมกัน เพราะมีความยุ่งยากต่างกัน ดังนั้น จึงแบ่งเก็บทีละชนิด แต่สามารถเก็บขายได้ทุกวัน จึงมีรายได้ทุกวันเช่นกัน นอกจากนั้น ยังระบุว่าการปลูกผักทั้งสองชนิดจะไม่มีการใช้เคมี แต่จะใช้เพียงฮอร์โมนเท่านั้น โดยจะใส่จำนวน 2 ช้อน ต่อน้ำ 20 ลิตร

    “ผักขะแยงทำเงินได้ดีกว่าบัวบก เพราะปลูกแล้วเก็บขายแล้วปลูกใหม่ได้ทันทีประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นพืชที่สร้างรายได้ในเวลาที่น้อยมาก ขณะที่บัวบกปลูกยุ่งยากกว่าเล็กน้อย แล้วกว่าจะเก็บขายใช้เวลานานกว่าผักขะแยง” คุณแพ กล่าว

ข้อมูลและภาพจาก technologychaoban

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ