รู้จัก "เกาะมิกิงโก" มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก จนได้ฉายา เกาะหุ้มเหล็ก

คอมเมนต์:

เกาะเล็กแค่นี้ แต่อยู่กันถึง 1,000 คน !!

    ถ้าหากจะพูดถึงสถานที่แปลกๆบนโลกกว้างๆของเรานั้น เชื่อได้เลยว่ายังมีอีกหลายสถานที่มากๆ ที่เราเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนเลยจริงๆว่าจะมีสถานที่แบบนี้อยู่บนโลกของเรา  อย่างเช่นเกาะ “มิกิงโก” (Migingo) 

    พาไปรู้จักเกาะมิกิงโก (Migingo) ดินแดนสวรรค์ของนักตกปลา อันได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก ทั้งเกาะมองเห็นแต่เหล็กสังกะสีของหลังคา จนได้ฉายา เกาะหุ้มเหล็ก

 

Sponsored Ad

 

    เกาะมิกิงโก (Migingo) เป็นเกาะขนาดเล็กจิ๋ว เหนือทะเลสาบวิกตอเรีย ในประเทศเคนยา ทวีปแอฟริกา มีพื้นที่โดยรวมทั้งเกาะแค่ประมาณ 1,980 ตารางเมตร มีผู้พักอาศัยทั้งหมด 131 ครัวเรือน รวมแล้วมีประชากรทั้งสิ้นราว 1,000 คน อันทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นเกาะที่ได้ชื่อว่า มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในโลก 

 

Sponsored Ad

 

    เว็บไซต์อ็อดดิตี้เซ็นทรัล ได้หยิบเรื่องราวน่าสนใจนี้มาเผยให้ได้ชม โดยเผยว่า เกาะมิกิงโก แห่งนี้ถูกเรียกว่าเป็น Iron Clad Island หรือ เกาะหุ้มเหล็ก เนื่องจากมองรวม ๆ แล้วส่วนใหญ่จะเห็นแต่หลังคาบ้านของชาวบ้านที่เป็นเหล็กสังกะสีปกคลุมทั่วทั้งเกาะ

    สำหรับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเกาะแห่งนี้ที่มาค่อนข้างไม่ชัดเจนนัก จากข้อมูลหนึ่งระบุว่า ผู้บุกเบิกเกาะแห่งนี้คือ ดัสมัส เท็มโบ และจอร์จ เคียบเบ ชาวประมงชาวเคนยา ที่เริ่มเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานตั้งแต่ปี 2534 ขณะที่อีกข้อมูลระบุว่า โจเซฟ อันซูบูกา ชาวอูกันดา เป็นผู้มาที่เกาะแห่งนี้เป็นคนแรก ก่อนจะมีเพื่อนชาวประมงมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งทั้งสองเรื่องราวนี้ ทำให้เกิดการขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินบนเกาะแห่งนี้มายาวนานระหว่างประเทศเคนยากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอูกันดา

 

Sponsored Ad

 

    โดยหลักการทางภูมิศาสตร์แล้ว เกาะมิกิงโก ตั้งอยู่ในเขตของประเทศเคนยา แต่ทางชาวอูกันดา ได้กล่าวอ้างว่า ชาวประมงบนเกาะได้ล่วงล้ำเข้าไปหาปลาในน่านน้ำของอูกันดา ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งของเกาะเพียง 500 เมตร จนกลายเป็นสงครามเล็ก ๆ ของแอฟริกา (Africa's smallest war) เกิดขึ้น ซึ่งปมปัญหาความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศนั้นมีมาเรื่อย ๆ จนมาถึงจุดเดือดในปี 2551 เมื่อทางอูกันดาส่งหน่วยทหารไปเข้ายึดพื้นที่และสั่งอพยพชาวประมงบนเกาะ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดอยู่นานหลายปีหลังจากนั้น

 

Sponsored Ad

 

    กระทั่งในปี 2559 ประเทศอูกันดาและเคนยา ได้ยอมเจรจาทำข้อตกลง ว่า ทั้ง 2 ประเทศจะมีสิทธิ์เรียกเก็บภาษีจากชาวประมงที่อาศัยอยู่บนเกาะ และแต่ละประเทศจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นไปป้องกันการโจมตีเกาะจากโจรสลัด ทำให้ตอนนี้ทั้งชาวเคนยาและชาวอูกันดาสามารถอยู่บนเกาะแห่งนี้ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

 

Sponsored Ad

 

    หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 หลังจากทางอูกันดาส่งทหารมายึดเกาะนั้น จากการสำรวจสำมะโนประชากรอย่างเป็นทางการระบุว่า มีทั้งหมด 131 ครัวเรือน ส่วนจำนวนประชากรผู้พักอาศัยนั้นมีสูงถึงกว่า 1,000 ชีวิต ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับการอาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น จากนั้นเรื่อยมาก็ยังมีชาวประมงทั้งจากเคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย แห่เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะแห่งนี้ อันได้ชื่อว่าสรรค์ของนักตกปลาจนแออัด ทำให้ไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรได้ ทุกพื้นที่มีแต่บ้านเรือนชาวประมงขึ้นติด ๆ กันหนาแน่น จนแทบจะไม่มีทางเดิน

 

Sponsored Ad

 

    แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจไม่น้อยคือ เกาะที่มีชื่อว่า ยูซิงโก (Usingo) ที่อยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าเกาะมิกิงโก กลับไม่มีประชาชนไปอาศัยอยู่เลย เมื่อเปรียบเทียบภาพกันแล้วน่าสงสัยเป็นอย่างมาก ซึ่งได้มีตำนานเล่าขานว่า สาเหตุที่เกาะแห่งนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่เพราะว่า เป็นที่สิงสถิตของวิญญาณร้าย ไม่มีชาวประมงคนไหนกล้าย่างกรายเข้าไปเหยียบ และถึงแม้จะเป็นแค่เรื่องเล่า แต่ก็ทำให้ทุกคนที่นั่นเชื่อและเลือกที่จะอยู่บนเกาะที่แออัดมากกว่าจะย้ายไป

Sponsored Ad

    สำหรับเรื่องความปลอดภัย แม้ว่าจะมีทางเจ้าหน้าที่ตำรวจของทั้งอูกันดาและเคนยาเข้าไปดูแลความเรียบร้อย แต่ก็ยังมีเหตุโจรสลัดเข้ามาปล้นอยู่  ส่วนใหญ่จะจ้องเข้ามาในตอนกลางคืน เพื่อขโมยเรือและเครื่องยนต์ของชาวประมง และมีบางครั้งที่ลงมือฆ่าชาวบ้านชาวประมงที่ไปขัดขวาง แต่ทั้งนี้ก็ไม่บ่อยและไม่รุนแรงมากเท่าในอดีต

    ปัจจุบัน เกาะมิกิงโก แห่งนี้ ยังคงได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจจะได้ชื่อนี้อยู่อีกไม่นาน อันเนื่องมาจากประชากรที่หนาแน่น ก็ทำให้ทรัพยากรลดน้อยลง และผู้คนก็เริ่มอพยพออกไปหาทำเลจุดหาปลาใหม่ ๆ มากขึ้น

.

มีการแปรรูปปลาที่จับมาได้

.

.

.

.

.

.

.

.

.

นี่คือพิกัดบนแผนที่โลก


ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา : dailymail

บทความที่คุณอาจสนใจ