ทนายรัชพลแนะ 10 วิธีดูแลที่ดินเปล่าง่ายๆ สำหรับคนไม่มีเวลา ถ้าปล่อยไว้ไม่ดูแล เสี่ยงตกเป็นของคนอื่น

คอมเมนต์:

#ที่ดินเปล่า ปล่อยไว้ไม่ดูแล อาจตกเป็นของคนอื่นด้วยการครอบครองปรปักษ์ได้ ทนายเตือนแล้วนะ

    ปัญหาที่เรามักเจอไม่แพ้เรื่องเพื่อนบ้านมหาภัย ก็คือปัญหาที่ดินที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วมีคดีความมากมายที่เกี่ยวกับการยื้อแย่งและการครอบครองที่ดิน

    ทุกวันนี้ ที่ดิน ถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะนำไปพัฒนาเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว และล่าสุด ทนายรัชพล แนะ 10 วิธีดูแลที่ดินเปล่า เตือนปล่อยไว้ไม่ดูแลเสี่ยงตกเป็นของคนอื่นด้วยการครอบครองปรปักษ์ แนะการดูแลที่ดินเปล่าด้วยวิธีง่ายๆ 10 วิธี โดยระบุว่า...

 

Sponsored Ad

 

    1. หมั่นไปดูที่ดินเป็นประจำ อย่างน้อยสุดปีละ 2 ครั้ง เพราะที่ดินบางประเภท ถูกแย่งการครอบครอง 1 ปี ก็ฟ้องไม่ได้แล้ว

    2. เมื่อไปดูที่ดิน หากมีชาวบ้านแถวนั้น ให้เข้าไปถามไถ่ว่ามีใครมาใช้ที่ดินของเราบ้างมั้ย 

 

Sponsored Ad

 

    3. ตรวจหลักหมุดว่ายังอยู่ที่เดิมมั้ย ชำรุดหรือไม่ มีการเคลื่อนย้ายหรือไม่ ไม่ใช่ว่าหายไปแล้วล่ะ 

    4. ถ้าหลักหมุดหาย ควรไปแจ้งตำรวจขอดำเนินคดี เพราะการทำลายหลักหมุดเป็นความผิดอาญา หลังจากนั้น แจ้งที่ดินเพื่อดำเนินการรังวัดใหม่

 

Sponsored Ad

 

    5. ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อพบความผิดปกติของเนื้อที่ที่เรามี เพราะที่ดินอาจมีการเพิ่มหรือลดได้ โดยเฉพาะที่ดินริมตลิ่งหรือริมน้ำ

    6. ที่ดินเราควรล้อมรั้วไว้เพื่อกำหนดเขตแดนที่แน่นอน

 

Sponsored Ad

 

    7. ควรแสดงป้ายว่าที่ดินนี้มีเจ้าของ คนอื่นจะได้รู้ว่าไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ

    8. สังเกตว่ามีร่องรอยทางเดินผ่านหรือทางรถวิ่งผ่านประจำหรือไม่ เพราะอาจจะโดนใช้เป็นทางผ่านประจำก็ได้

    9. พบผู้บุกรุก เป็นความผิดอาญาข้อหาบุกรุก สามารถแจ้งความดำเนินคดีภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่อง รู้ตัว

 

Sponsored Ad

 

    10. กรณีพบผู้บุกรุก ควรดำเนินการตกลงให้รู้เรื่องว่า เค้าอยู่บนที่ดินเรานะ จะเช่าหรือจะซื้อหรือจะอย่างไรก็ควรตกลงกันให้รู้เรื่อง ไม่งั้นก็ไล่ออกไป หรือดำเนินคดีเด็ดขาดได้เลย

    สำหรับใครที่มีที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ทำอะไร ก็ควรที่จะทำให้ถูกต้องจะได้ไม่ตกเป็นของคนอื่นด้วยการครอบครองปรปักษ์ เป็นความรู้เล็กๆ น้อยที่นำมาฝากกันในวันนี้ อย่าลืมแบ่งปันเรื่องราวดีดีแบบนี้ให้เพื่อนคนอื่นด้วยนะคะ

ที่มา : ทนายรัชพล ศิริสาคร  

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ