ในหลวงรัชกาลที่ ๗ และพระราชินี เคยถูกรัฐบาลฟ้องร้อง ในเรื่อง "ทรัพย์สิน" ที่สุดพระองค์ก็แพ้คดี

คอมเมนต์:

ในหลวงรัชกาลที่ ๗ และพระราชินี เคยถูกรัฐบาลฟ้องร้อง ในเรื่อง "ทรัพย์สิน" ที่สุดพระองค์ก็แพ้คดี

    เรื่องราวในวันนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2475 หลัง รัชกาลที่ ๗ และพระราชินี ถูกรัฐบาลฟ้องร้อง ในเรื่อง “ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ”และพระองค์ท่าน ก็เป็นฝ่ายที่แพ้คดี 

    ช่วงนั้น หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยยังคงมีความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ ๗ กับคณะราษฎรอยู่ เพราะทรงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร ในส่วนของบทเฉพาะกาล

 

Sponsored Ad

 

    รัชกาลที่ ๗ พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เดินทางออกนอกประเทศ เพื่อไปรับการรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๗๖

    ความขัดแย้งระหว่าง รัชกาลที่ ๗ และรัฐบาลดำเนินไปจนถึงขั้นแตกหัก พระองค์ทรงลาออกจากราชสมบัติในที่สุด เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ เมื่อสละราชสมบัติไปแล้ว รัฐบาลออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยออกเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙” และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๗๙ เป็นต้นมา

 

Sponsored Ad

 

    พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สินหรือสิทธิ ออกเป็น ๓ ส่วนคือ 

    “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” 

    “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” 

 

Sponsored Ad

 

    และ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน”

    ปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลได้ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีพระคลังข้างที่ ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงฐานะ มาอยู่ในกำกับดูของกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายใหม่ ที่ว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ปรากฏว่าคณะกรรมการชุดนี้ ได้พบเงินหายไปหลายรายการ ซึ่งเป็นเงินที่ฝากไว้ในนามของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๕ ในธนาคารของต่างประเทศ โดยพระองค์ทรงโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าบัญชีส่วนพระองค์จำนวน ๖ ล้านบาท (ณ ช่วงเวลานั้น)

 

Sponsored Ad

 

    รัฐบาลของฝ่ายผู้ก่อการได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เป็นจำเลยที่ ๑ และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เป็นจำเลยที่ ๒ ให้ชดใช้เงินแก่กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๖,๒๗๒,๗๑๒ บาท ๙๒ สตางค์ (หกล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองบาท เก้าสิบสองสตางค์) ซึ่งการฟ้องร้องครั้งนี้ เป็นเรื่องที่สร้างความตกใจให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เพราะไม่มีใครคาดคิดเลยว่า "รัฐบาลนั้นจะกล้าฟ้องร้องพระมหากษัตริย์"

    โจทก์คือกระทรวงการคลัง ได้ขอให้ศาลสั่งยึดทรัพย์จำเลย (รัชกาลที่ ๗ และพระราชินี) ระหว่างการพิจารณาไว้ก่อนด้วย โดยอ้างเหตุผลคือ "เกรงจำเลยทั้งสอง จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน" อธิบดีศาลแพ่ง คุณพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในเวลานั้นมีคำสั่งว่า “ไม่อนุญาต” ตามคำร้องของโจทก์ ที่ขอยึดทรัพย์จำเลยไว้ระหว่างการพิจารณา

 

Sponsored Ad

 

    แต่หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในคอนนั้น มีคำสั่งย้ายพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ ขึ้นไปดำรงตำแหน่งในศาลฎีกา และคุณพระสุทธิอรรถนฤมนต์ ต้องออกจากราชการไปนานกว่า ๔ ปี ก่อนมีคำสั่งจากรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ให้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง

    จากนั้น น.อ.หลวงกาจสงคราม รัฐมนตรีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจบัญชีด้วย ได้นำเจ้าหน้าที่กองหมายของศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเดินทางไปที่วังศุโขทัย เพื่อทำการปิดหมายยึดทรัพย์ ทรัพย์สินทั้งหมด รวมอสังหาริมทรัพย์คือ ตัววังศุโขทัยด้วย ก็มีมูลค่าเพียง ๓ ล้านกว่าบาทเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    การพิจารณาคดีดำเนินไปหลายปี จนกระทั่งในที่สุดศาลได้มีคำสั่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เรื่อง ความแพ่งในระหว่างกระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ ๑ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่ ๒ จำเลย ตามคดีหมายเลขคดีดำที่ ๑๙๗/๒๔๘๒ คดีหมายเลขคดีแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒ ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒

ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ ๑ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จำเลยที่ ๒ เป็นฝ่ายแพ้คดี

    ในคำพิพากษานี้ แยกเป็น ๓ ส่วน (โดยสังเขป)

Sponsored Ad

    ข้อ ๑. ศาลวินิจฉัยว่า ตามพฤติการณ์ที่จำเลยโอนเงินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปยังต่างประเทศ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก จำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์สินส่วนนั้น ในกรณีดังกล่าวเป็นเหตุฉุกเฉินโจทก์ยื่นคำฟ้องโดยมีเหตุสมควร ศาลสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

    ข้อ ๒. โจทก์นำ หลวงสารสินทะเบียนสิษฐ์ นายวานิต นาวิกบุตร์ และนายเฉลียว ปทุมรส เข้าเบิกความ ศาลพิเคราะห์ว่า จำเลย โอนขายอสังหาริมทรัพย์โดยสมรู้กับคู่สัญญา เพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยให้พ้นอำนาจศาล ซึ่งอาจบังคับเอาแก่จำเลยและเพื่อฉ้อโกงโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นไปโดยสุจริตและเป็นเสียหายแก่โจทก์

    ข้อ ๓. ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยให้อายัดหรือยึดทรัพย์จำเลยทั้งหมดรวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไปพลางก่อน และเงินวางศาลเพื่อประกันสำหรับค่าสินไหมทดแทน ให้จำเลยเป็นฝ่ายเสีย

    จากนั้นรัฐบาลยึดวังศุโขทัยและริบทรัพย์สินอื่นของพระปกเกล้าฯ เพื่อนำไปขายทอดตลาด แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ขาย ต่อมาในปี ๒๔๘๕ กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ขอเช่าวังศุโขทัยจากกระทรวงการคลังในอัตรา ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน เพื่อใช้เป็นที่ทำการ จนกระทั่งย้ายออกไปในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓

    วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐบุรุษอาวุโส ได้บันดาลให้เกิดสัญญาประนีประนอมประวัติศาสตร์ขึ้นระหว่างรัฐบาลกับจำเลยที่ ๒ ในคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง คือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และกองมรดกผลประโยชน์ทั้งหลายของเจ้าฟ้าประชาธิปก มีสาระสำคัญว่า บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหลายที่ผูกพันกันอยู่นั้น เป็นอันให้เลิกแล้วต่อกัน รัฐบาลได้มาแล้วเท่าไรก็เอาเท่านั้น

    และหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายออกไปแล้ว ทางการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเป็นที่ประทับต่อไป

    เกร็ดความรู้ :: ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ต่างกันยังไง ?

    ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ส่วนนี้ต้องเสียภาษี

    ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน เป็นต้นว่า พระราชวัง 

    และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือทรัพย์สินที่ไม่อยู่ใน 2 หมวดแรก ซึ่งหมายถึงที่ดินและการลงทุนในบริษัทต่างๆ ส่วนนี้ไม่ต้องเสียภาษี ช่วงแรก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล

ที่มา : thaipbs, เพจโบราณนานมา

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ