เพราะร่างกายไม่ใช่อุปสรรค บ้านทอผ้า "ซันทอสนุก" ที่พิสูจน์ว่า เด็กพิเศษ ยืนได้ด้วยขาตัวเอง

คอมเมนต์:

ใครว่า "เด็กดาวน์" จะทำงานหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ เรียกได้ว่า "กายไม่พร้อมแต่ใจพร้อม" จริงๆ

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        ใครว่าคนเป็นดาวน์ซินโดรมจะไม่มีพัฒนาการ ไม่สามารถหางานทำ ไปจนถึงดูแลตัวเองไม่ได้ ศิลปินเจ้าของสตูดิโอวัย 23 ปี "ซัน-ไกรลาส สกุลดิษฐ์" ได้พิสูจน์แล้วว่าผู้ที่มีความต้องการพิเศษด้านพัฒนาการและพฤติกรรม สามารถทำงานได้อย่างคนทั่วไป ถ้าได้รับการสนับสนุน โดยมี คุณแม่เกด-เกษณี สกุลดิษฐ์ คอยเป็นพี่เลี้ยงที่ให้กำลังใจและเป็นพาร์ตเนอร์ของสตูดิโอไปพร้อมๆ กัน

        จากวันนั้นจนถึงวันนี้ Sunfun Weaving เปิดทำการมาเป็นเวลา 4 ปี จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของงานอดิเรกมาเป็นงานประจำ ที่ทำให้ซันมีอาชีพเป็นของตัวเองและออกดอกผลเป็นโรงเรียนสอนทอผ้าและงานฝีมือ ที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ทั้งเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการพิเศษคนอื่นๆ

 

Sponsored Ad

 

        ซันและแม่เกดคือต้นแบบของการสร้างแรงบันดาลใจในการเสริมสร้างพัฒนา ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและพ่อแม่อีกหลายๆ ครอบครัว จากจุดเล็กๆ ไปจนถึงจุดที่เขาสามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้ รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงความเท่าเทียม ในการเข้าถึงทักษะและแหล่งงานของผู้ที่มีความต้องการพิเศษอีกด้วย

        “ตั้งแต่เปิดสตูดิโอ แม่เกดจะบอกซันตลอดว่า เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องทุ่มเททำ ต้องสู้ ไม่ยอมแพ้ คนทุกคนต้องหาเงิน ต้องทำงานได้ด้วยตัวเอง และนี่คือสตูดิโอทอผ้าซึ่งเป็นที่ทำงานหาเงินของซัน” 

 

Sponsored Ad

 

        ซันเป็นลูกชายคนแรกของแม่เกด เขาลืมตาดูโลกพร้อมรหัสโครโมโซมที่เพิ่มมามากกว่าเด็กทั่วไป 1 ตัว ทำให้ซันมีอาการ ด า ว น์ ซิ น โ ด ร ม ซึ่งส่งผลให้เด็กมีสภาวะแตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีภาวะกล้ามเนื้อพัฒนาได้ช้า หรือหูรับฟังได้ไม่ปกติ ทำให้รับรู้และพัฒนาช้ากว่าคนรุ่นเดียวกัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะพัฒนาไม่ได้

        แม่เกดตัดสินใจมีลูกคนที่ 2 ในปีต่อมา หลังจากปรึกษาแพทย์หลายคนและได้ความเห็นตรงกันว่า ถ้าเลี้ยงดูลูก 2 คนไปพร้อมกัน จะได้เห็นพัฒนาการการเติบโตของน้องทั้งคู่อย่างใกล้ชิด เปรียบเทียบได้และรู้ว่าจะช่วยซันพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างไร”

 

Sponsored Ad

 

        แม่เกดเล่าให้ฟังว่า “เมื่อยี่สิบสามปีที่แล้วตอนซันเกิดมาพร้อมอาการ ด า ว น์ ซิ น โ ด ร ม คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร ก็จะมองว่าเขาแปลก ผิ ด ป ก ติ แต่เราเลือกที่จะมองข้ามจุดนั้นไปและเลี้ยงดูเขาตามปกติ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือการหาข้อมูลอย่างหนัก เพราะสมัยก่อนอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่มี และในประเทศไทยแทบจะไม่ค่อยได้เห็นผู้มีอาการ ด า ว น์ ซิ น โ ด ร ม ตามสถานที่ต่างๆ เพราะสมัยก่อนถ้าบ้านไหนมีลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เขาก็จะให้ลูกอยู่แค่ในบ้าน

 

Sponsored Ad

 

        “เราเลยติดต่อกลับไปหาพี่น้องที่อยู่ต่างประเทศเพื่อสอบถามจึงงานวิจัยต่างๆ รวมถึงเข้าเป็นสมาชิกทางไกลกับชมรมต่างๆ ในต่างประเทศ ที่พ่อแม่ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมารวมกลุ่มกันเป็นคอมมูนิตี้ เขาค้นพบวิธีกระตุ้นพัฒนาการ รวมถึงสามารถประกอบอาชีพในสังคมร่วมกับคนอื่นได้เป็นปกติ”

        ซันเข้าศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งมีโควตาให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในห้องเรียนเดียวกับเด็กระดับชั้นเดียวกันห้องละ 2 คน เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กๆ ส่งเสริมพัฒนาการซึ่งกันและกัน และยังช่วยสร้างความเข้าใจให้เด็กๆ ทั่วไปเรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติและสร้างมิตรภาพกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างไร เพื่อสังคมที่เปิดกว้างให้ความหลากหลายอย่างเท่าเทียมในอนาคต

 

Sponsored Ad

 

        “จนซันขึ้นมอห้าเราก็เริ่มวางแผนว่า ถ้าลูกจบมอหกแล้วจะให้เขาเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น หรือทำอะไรดีที่จะเป็นทักษะให้เขาหล่อเลี้ยงตัวเองในอนาคตได้ มีรุ่นพี่ซันบางคน หลังเรียนจบเขาก็ไปคัดลายไทยที่ศูนย์ศิลปาชีพ คุณครูรวมถึงหลายๆ คนรอบตัวก็พูดว่า ซันน่าจะเอาดีเรื่องอาร์ตหรือดนตรีนะ เพราะเขาชอบตีกลอง เป่าเมโลเดียน และเล่นเปียโน

        จนวันหนึ่ง เราก็ได้คุยกับซัน และถามเขาว่า หลังเรียนจบแล้วซันอยากทำอะไรที่ชอบและคิดว่าทำได้ดี ปรากฏว่าเขาตอบว่า…ทอผ้าครับแม่ ซันอยากทอผ้า”

 

Sponsored Ad

 

        ทักษะการทอผ้าของซันเริ่มต้นจากโรงเรียนรุ่งอรุณมีชั้นเรียนสอนทอผ้าซาโอริให้เด็กๆ ทอผ้าเป็นงานอดิเรกเพื่อฝึกสมาธิไปในตัว โดยศิลปะการทอผ้าด้วยมือแบบซาโอริ เป็นการทอผ้ารูปแบบใหม่ของญี่ปุ่นที่สะท้อนความอิสระ เนื่องจากผู้ทอถักทอด้วยรูปแบบใดก็ได้ เพื่อแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลอย่างเสรี ทำให้ผ้าที่ทอด้วยเทคนิคซาโอริแต่ละผืนมีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำกันเลย

        ซันใช้เวลาทอวันละชั่วโมงทุกวัน โดยผ้าทอผืนแรกๆ ของซันใช้เวลานับปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์เป็นผ้าพันคอของขวัญวันแม่ และซันยังทอให้ครูพี่เลี้ยงและคุณย่าด้วย “ที่โรงเรียนเขาจะเอางานของเด็กๆ เกือบทุกคนขึ้นโชว์หลังทำเสร็จ คุณครูก็จะมาบอกว่าผ้าทอของซันมักขายได้ก่อน ด้วยเทคนิคการจับคู่สีและแพตเทิร์นเฉพาะตัวของเขา”

Sponsored Ad

        เมื่อแม่เกดได้คำตอบที่แน่วแน่จากซัน ว่าสิ่งที่อยากทำต่อคือทอผ้า แม่เกดจึงไปปรึกษาครูของซันว่าเป็นไปได้ไหมที่ซันจะทำเป็นอาชีพ เพื่อต่อไปในอนาคตเขาจะพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

        “ครูบอกว่า ซันทำเป็นอาชีพได้ แต่คุณแม่ต้องทอเป็นด้วย เพราะด้วยข้อจำกัดต่างๆ ยังมีหลายจุดที่ซันแก้ปัญหาเองไม่ได้ อย่างร้อยตะกอ ฟืม ขึ้นเส้นยืน เพราะปกติผู้ที่มีอาการจะสายตาไม่ค่อยดี 

        “ตัวแม่เกดเองเป็นผู้หญิงทำงานมาทั้งชีวิต ตั้งแต่ที่อเมริกาจนย้ายกลับมาไทย ณ ตอนนั้นหน้าที่การงานดี เงินเดือนก็ไม่ใช่น้อยๆ สุดท้ายก็ตัดสินใจลาออกจากงานสายโฆษณาที่ทำมาหลายสิบปีเพื่อมาเรียนรู้การทอผ้า โดยช่วงปีสุดท้ายที่ซันเรียนระดับมัธยมเราก็ไปเรียนทอผ้ากับเขาด้วยอาทิตย์ละครั้ง และค้นพบว่าเป็นงานอดิเรกที่เพลิดเพลินและสนุกมาก” แม่เกดเล่าพร้อมรอยยิ้ม

        ที่ห้องเรียนทอผ้าซาโอริมีผืนผ้าที่เด็กๆ ทอฝึกมือไว้หลายสิบผืน แม่เกดเห็นว่าผ้าพวกนี้สวยงามยูนีกดี น่าจะเอาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แทนที่จะกองทิ้งไว้เฉยๆ เลยขอผ้าจากครูและเขาก็ยินดียกให้ “เราก็เอาเลย ซื้อจักรทั้งที่ยังเย็บไม่เป็นด้วยซ้ำ (ยิ้ม) ลองผิดลองถูก ขึ้นแพตเทิร์นเองเย็บเป็นกระเป๋า เสื้อกางเกง และชุดเดรส

        “จากนั้นโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊ก เพื่อนๆ เห็นก็พากันทึ่งและชมว่าสวยจังเลย เกดทอเองหรอ เราก็บอกว่า ไม่ใช่ เป็นงานของซันและเพื่อนๆ ที่ลองนำมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปขาย สมทบทุนในงานโรงเรียนประจำปี เมื่อขายได้เราก็มีกำลังใจมากขึ้นและคิดว่าซันทำได้แน่นอน”

        จากวันนั้นจนถึงวันนี้ Sunfun Weaving หรือ ‘บ้านซันทอสนุก’ เปิดทำการมาเป็นเวลา 4 ปีกว่าแล้ว โดยใช้พื้นที่หน้าบ้านรีโนเวตเป็นสตูดิโอ มีทั้งพื้นที่ทอผ้าของซัน พื้นที่ตัดเย็บแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของแม่เกด และพื้นที่เรียนรู้ที่ซันและแม่เกดเปิดเป็นโรงเรียนแบ่งปันวิธีการทอผ้าให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษคนอื่นๆ

        “ตั้งแต่เปิดสตูดิโอ แม่เกดจะบอกซันตลอดว่า เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องทุ่มเททำ ต้องสู้ ไม่ยอมแพ้ คนทุกคนต้องหาเงิน ต้องทำงานได้ด้วยตัวเอง และนี่คือสตูดิโอทอผ้าซึ่งเป็นที่ทำงานหาเงินของซัน แม้การทอผ้าจะเป็นสิ่งที่เขาชอบ แต่แรกๆ ก็กลัวว่าเขาจะไม่ทำ เพราะอยู่ที่โรงเรียนเขาทำแค่อาทิตย์ละครั้ง อยู่บ้านเขาก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป เล่นเกม เล่นมือถือ

        “ปรากฏว่าเขามีความรับผิดชอบและมีสมาธิดีมาก มีคนสั่งเข้ามาเรื่อยๆ ทางเฟซบุ๊ก บางช่วงมีออร์เดอร์เข้ามาทีละหลายสิบผืน ซันเขาก็จะค่อยๆ ทออย่างตั้งใจไปทีละผืน คนสั่งของก็ยอมรอเพราะรู้ว่าเป็นงานฝีมือ และอีกอย่างซันและแม่เกดอยากให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีมาตรฐานเทียบเท่าสินค้าทั่วไป อยากให้ซื้อเพราะสวยงามถูกใจ ไม่ใช่ซื้อเพราะความสงสาร” แม่เกดบอกเรา ในขณะที่ซันก็หันมายิ้มกว้างให้

        ตลอดเวลาที่เรานั่งคุยกับแม่เกด ซันก็ทอผ้าอย่างขะมักเขม้นไปด้วย กี่ทอผ้าขนาดกะทัดรัด 3 ตัว ที่ตั้งอยู่ในสตูดิโอแห่งนี้ แม่เกดบอกว่าเป็นกี่แบบซาโอริซึ่งตั้งไว้ในบ้านได้ ต่างจากกี่ขนาดใหญ่ที่คนไทยคุ้นหน้าคุ้นตากัน “โรงเรียนรุ่งอรุณใจดีมาก ช่วงใกล้เปิดสตูดิโอเขาให้เรายืมกี่ของโรงเรียนมาเป็นต้นแบบ โดยอนุญาตให้สร้างเลียนแบบเพื่อใช้ใน Sunfun Weaving ได้เลย”

        แม่เกดเล่าต่อว่า ขั้นตอนการทอผ้าของซันเริ่มจากการเลือกเส้นไหม ผ้าทอจะออกมาสวยงามแค่ไหน การเลือกสีและเทกซ์เจอร์ของเส้นไหมที่จะถูกนำมาถักทอถือเป็นขั้นตอนสำคัญ โดยซันจะเป็นคนเลือกเองอย่างอิสระ ยกเว้นบางครั้งที่ลูกค้ามี Special Request เช่น ไม่ชอบสีเขียว ไม่ชอบสีแดง แม่เกดจะเป็นคนช่วยไกด์การเลือกสีเส้นไหม เพราะถ้าปล่อยซันทอไปตามอารมณ์ ผลงานอาจจะออกมาสวยงาม แต่ไม่ถูกใจลูกค้า

        “แม่เกดว่ามันเป็นความสามารถเฉพาะตัวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างซันเลยนะ ในการเลือกคู่สี 2 – 3 สี มาจับคู่กันแล้วเกิดเป็น Combination ที่พิเศษมาก ไม่ว่าแม่เกดจะพยายามยังไงก็สู้เขาไม่ได้ (หัวเราะ) 

        “อาจเพราะความกลัว เหมือนในสมองเรามีกรอบอยู่ว่าต้นไม้ต้องสีเขียว ดอกไม้ต้องสีเหลือง พระอาทิตย์ต้องสีส้ม แต่ซันเขาไม่มีข้อกำจัดพวกนั้นอยู่เลย แล้วก็ไม่ใช่ว่าเขาเลือกสีมั่วๆ นะ เขาเล็งและคิดอยู่หลายพักเลยกว่าจะเลือกหยิบเส้นไหมแต่ละสี”

        เมื่อเลือกสีและเทกซ์เจอร์เส้นไหมได้แล้ว แม่เกดจะมาช่วยซันขึ้นเส้นยืนและร้อยหวีบนกี่ทอผ้า “ซึ่งซันทำได้แต่จะใช้เวลานานมาก เพราะอย่างที่ครูบอกตั้งแต่แรก ว่าด้วยข้อจำกัดบางอย่าง เขาจะทำบางขั้นตอนด้วยตัวเองได้ไม่ถนัดนัก เราก็ช่วยซัพพอร์ตในจุดเหล่านั้น”

        และจากนั้นซันจะใช้เวลาหลายเดือนถักทอเส้นไหมเหล่านั้น ออกมาเป็นผ้าทอผืนสวยที่เต็มไปด้วยจินตนาการไร้ข้อจำกัดและแสนจะเป็นเอกลักษณ์

.

        นอกจากจะขายผ้าพันคอแล้ว แม่เกดยังเพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอของซันด้วยการตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขายบนเฟซบุ๊กและออกงานแฟร์บ้าง โดยเฉพาะงานการกุศลของ The Rainbow Room ที่แม่เกดบอกว่าไปเป็นประจำทุกปี

        หลังจากเปิดสตูดิโอมาได้พักใหญ่ ข่าวเกี่ยวกับ Sunfun Weaving ก็กระจายออกไปและมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยสนใจอยากให้ลูกมาเรียนทอผ้าด้วย ทั้งเด็กทั่วไปและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะการทอผ้าแบบซาโอรินั้นไม่มีข้อจำกัดด้านอายุหรือการศึกษา

หน้าเพจของ Sunfun Weaving

        สตูดิโอแห่งนี้จึงพ่วงความเป็นโรงเรียนเข้าไปด้วย เพื่อเปิดสอนทอผ้าที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กๆ “ช่วงนั้นนอกจากเปิดคลาสสอนแล้ว ก็มีหลายๆ โรงเรียนพาคุณครูเข้ามาดูสตูดิโอของซันด้วย เพราะเขาเห็นความสำคัญของการสร้างสมาธิและพัฒนาการเด็กผ่านกิจกรรม จึงอยากเซ็ตอัพกี่ทอผ้าและคลาสสอนทักษะลักษณะนี้ที่โรงเรียน ก็อธิบายเขาไปว่าเราใช้กี่ต้นแบบจากโรงเรียนรุ่งอรุณนะ ให้ไปติดต่อกับทางนั้นโดยตรงคงดีกว่า”

        แม่เกดอธิบายว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มาเรียนทอผ้าที่ Sunfun Weaving ไม่ได้มีแค่เด็กอย่างซันเท่านั้น ตอนนี้มีเด็กที่มีภาวะ อ อ ทิ ส ซึ ม มาเรียนด้วยเช่นกัน โดยเด็กที่มี ภ า ว ะ อ อ ทิ ส ซึ ม จะมีสมองที่ทำงานแตกต่าง ทำให้มีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากคนทั่วไป 

        “เลี้ยงเขาด้วยความสนุก แล้วจะค้นพบว่าทุกการเดินทางกับเขาคือความสุขทั้งนั้น ไม่มีทุกข์เลย อย่าหงุดหงิดรำคาญเมื่อเขาทำไม่ได้ในทันที มองความผิดพลาดเป็นบทเรียนที่ทั้งเราและเขาต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน เวลาพ่อแม่พาลูกมาเรียน บางทีเขาเห็นซันทำได้ ก็อยากหาหนทางให้ลูกมีพัฒนาการและทำได้อย่างซันด้วย แม่เกดเข้าใจความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีลูกมีความต้องการพิเศษ แต่บางทีการคาดหวังกับเขามากไป จะสร้างความเครียดและกดดันให้เขา 

        “นอกจากสอนทอผ้าด้วยกี่ไม้ กี่เฟรมแล้ว เราเปิดคอร์สเย็บปักถักทอ ซึ่งเป็นคอร์สสำหรับเด็กทั่วไปที่ส่วนใหญ่เป็นโฮมสกูลและผู้ใหญ่ที่สนใจ ผู้ใหญ่ที่มาเรียนส่วนใหญ่ก็ผู้ปกครองของเด็กๆ นั่นแหละ (ยิ้ม) งานอดิเรกหรือกิจกรรมอะไรพวกนี้ ถ้าพ่อแม่มาแจมและช่วยสอนลูกได้ จะเกิดปฏิสัมพันธ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันลึกซึ้งมากขึ้น”

.

        แม่เกดเล่ายิ้มๆ ว่าการสอนของ Sunfun Weaving เน้นการสอนตามใจผู้เรียน คือไม่ปิดกั้นถ้าเด็กๆ อยากเรียนอะไร อย่างล่าสุดเด็กอยากเรียนถักอามิกูรูมิ ซึ่งเป็นการถักตุ๊กตาญี่ปุ่นตัวเล็กๆ ที่มีคาแรกเตอร์แตกต่างกัน แม่เกดก็ไปค้นหาขั้นตอนและวิธีทำมาสอนจนได้

        ความสุขทุกวันนี้ของแม่เกดคือการได้เห็นพัฒนาการของซันที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน “จากวันแรกๆ ตอนเขาเกิด คนส่วนใหญ่บอกว่าเขาพัฒนาไม่ได้ ยี่สิบสามปีที่ผ่านมา เราพิสูจน์แล้วว่ามันไม่จริงเลย อาจจะช้า แต่เขาไม่ได้หยุดนิ่งและพยายามเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และการได้เป็นแรงบันดาลใจให้ครอบครัวที่ลูกมีความต้องการพิเศษครอบครัวอื่นๆ รวมถึงได้เป็นครูที่ช่วยสร้างโอกาสเล็กๆ อีกมากมายให้เกิดขึ้นในสังคม” แม่เกดเอ่ยทิ้งท้าย

ชมคลิปเพิ่มเติม 

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก readthecloud, ejan

บทความที่คุณอาจสนใจ