นาซ่าเผย พบสัญญาณ "โลกใบใหม่" ใหญ่กว่าเดิม 2 เท่า แถมสว่างกว่า คาดมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์

คอมเมนต์:

ตื่นเต้นจังเลย ไม่คิดว่าจะมีจริงๆ!

        กลายเป็นประเด็นที่หลายคนพากันถกเถียงถึงความเป็นไปได้ต่างๆ เมื่อนาซ่าออกมาแถลงการณ์ว่า มีการค้นพบ ‘ซูเปอร์เอิร์ธ’ หรือที่หลายคนขนานนามว่า "โลกใบใหม่" ใหญ่กว่าเดิม 2 เท่า แถมมีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อปีที่ 2019  เจ้าหน้าที่นาซ่ากำลังตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากกล้องเทโรสโคป เคปเลอร์ หลังกล้องตรวจจับพบโลกใบใหม่ ที่มีชื่อว่า super earth หรือที่มีรหัสเรียกว่า K2-288BB ที่อยู่ห่างจากโลก 226 ล้านปีแสง

        และเมื่อไม่นานมานี้ ทางนาซ่าก็ได้ค้นพบโลกใหม่อีกดวงหนึ่งแล้วด้วย (อ่านเพิ่มเติม : NASA เผย พบดาวดวงใหม่ "คล้ายโลกของเรา" คาดมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อยู่ห่างแค่ 300 ปีแสง) และเป็นคนละดวงกับดวงนี้ !!

 

Sponsored Ad

 

        คาดว่าภายใน super earth จะมีหินและเต็มไปด้วยแก๊ส แบบที่พบในดาวเนปจูน ซึ่งขนาดและลักษณะแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ทำให้ชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์

    

        ซึ่งขณะเดียววันก็มีรายงานว่ากล้องเทโรสโคปในแคนาดา ก็สามารถรับคลื่นลึกลับได้จากกาแล็คซี่ ที่ส่งมาในรูปแบบของคลื่นวิทยุแปลกๆ ซ้ำๆกันมากถึง 13 คลื่น

 

Sponsored Ad

 

        โดยถูกส่งออกมาจากจุดเดิมซ้ำ ที่อยู่ห่างออกไปจากโลก 1,500 ล้านปีแสง ซึ่งขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบต้นกำเนิดว่าคลื่นมาจากที่ใด

        ด้วยการใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เคปเลอร์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ทำให้เจ้าหน้าที่ฝึกงาน 2 คนของนาซา

 

Sponsored Ad

 

        และทีมนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ค้นพบ ซูเปอร์เอิร์ธ ดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่มีมวลมากกว่า

        โลกดวงใหม่ หรือ ซูเปอร์เอิร์ธ มีขนาดใหญ่กว่าโลกมนุษย์ประมาณ 2 เท่า รู้จักกันในชื่อ ดาว K2-288Bb อยู่ห่างจากโลกไกลออกไปประมาณ 226 ปีแสงตามที่กล่าวไว้ในข้างต้น และทางนาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มอีกว่าซูเปอร์เอิร์ธอยู่ในกลุ่มดาว “ทอรัส”

 

Sponsored Ad

 

        พื้นผิวอาจเต็มไปด้วยก้อนหิน หรือแก๊ซ คล้ายดาวเนปจูน และที่สำคัญมันอยู่ในเขตดวงดาวที่สามารถอยู่อาศัยได้ 

        ทำให้เพิ่มความหวังของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก ขนาดของดาว K2-288BB  ถือว่าหาได้ยากมาก 

        ในบรรดาดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยจักรวาล แอดินา ไฟน์สไตน์ นักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยชิคาโก หนึ่งในผู้ค้นพบซูเปอร์เอิร์ธดวงใหม่ และผู้ร่วมเขียนรายงานที่เผยแพร่ลงในวารสาร The Astronomical Journal กล่าวว่า ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก 

 

Sponsored Ad

 

        หากมองในแง่วิธีการค้นพบ และดาวเคราะห์สัณฐานขนาดนี้ ซูเปอร์เอิร์ธที่เพิ่งค้นพบ อยู่ในระบบดวงดาวที่รู้จักกันในชื่อ K2-288BB ซึ่งรวมถึงดาวคู่แสงสลัวอากาศเย็น 2 ดวง อยู่ห่างจากกันประมาณ 8,200 ล้านกิโลเมตร

หรือประมาณ 6 เท่าของระยะทางระหว่างดาวเสาร์กับดวงอาทิตย์ 

Sponsored Ad

        ดาวดวงที่มีแสงสว่างกว่า มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ ส่วนอีกดวงมีขนาดและมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้นเอง

        ซูเปอร์เอิร์ธดวงใหม่ หรือ K2-288BB โคจรรอบดาวดวงเล็กและแสงสว่างน้อยกว่า ทุกๆ 31.3 วัน 

        การค้นพบเกิดขึ้นเมื่อไฟน์สไตน์ และมาเคนนาห์ บริสโทว์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แอชวิลล์ ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝึกงานกับ นายโจชัว ชไลเดอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ประจำศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด ขององค์การนาซา ในเมืองกรีนเบลท์ รัฐแมรีแลนด์ 

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา : เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง

บทความที่คุณอาจสนใจ