เปิดประวัติ บุคคลที่ "ร.10" ถึงกับทรงไหว้อย่างนอบน้อม แม้มีพระราชอิสริยยศ สูงกว่าใครในแผ่นดิน

คอมเมนต์:

เปิดประวัติ บุคคลที่ "ร.10" ถึงกับทรงไหว้อย่างนอบน้อม แม้มีพระราชอิสริยยศ สูงกว่าใครในแผ่นดิน

        ย้อนไปเมื่อครั้งพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ และเชิญพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิในหลวงรัชกาลที่ ๙ ณ พระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์

        ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นทรงรับที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ จากพระที่นั่งราเชนทรยานขึ้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานที่บุษบก แว่นฟ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ตาม เมื่อประดิษฐานพระโกศพระบรมอัฐิ เรียบร้อยแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราช สักการะพระบรมอัฐิ เสด็จพระราชดําเนินกลับ

 

Sponsored Ad

 

        ทั้งนี้พระโกศพระบรมอัฐิ พระโกศทองคำลงยา มีทั้งหมด ๖ องค์ ๔ แบบ ประกอบด้วย พระโกศทองคำลงยาประดับรัตนชาติ ทรงพระบรมอัฐิเก้าเหลี่ยม หรือพระโกศองค์หลัก สำหรับประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระโกศแปดเหลี่ยมอีก ๕ องค์ สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

 

Sponsored Ad

 

        นอกจากงานพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่และงดงามสมเกียรติ อีกสิ่งหนึ่งที่ยังคงตราตรึงในใจพสกนิกรไทยทุกคน คือภาพที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคม (ไหว้) "ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศร ส ง ค ร า ม " พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แสดงถึงความนอบน้อมไม่ถือพระองค์ และท่านผู้หญิงทัศนาวลัยได้ถอนสายบัวรับการถวายความเคารพจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

 

Sponsored Ad

 

.

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ประวัติท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

        ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศร ส ง ค ร า ม (สกุลเดิม: รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์; 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) เป็นพระธิดาเพียงคนเดียวในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงตั้งพระครรภ์ขณะนั้นทรงขาดแคลนพระราชทรัพย์และมิได้ประกอบอาชีพ โภชนาการของท่านผู้หญิงทัศนาวลัยจึงไม่ใคร่ดี แม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะมอบเงินจำนวน 600 ฟรังค์สวิสต่อเดือนก็ตาม เมื่อท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเกิดมาทั้งสามจึงอยู่กันอย่างมัธยัสถ์ในสวิตเซอร์แลนด์ ในวัยเยาว์ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย และไม่ซุกซน

        เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มิได้ตามเสด็จด้วย เนื่องจากต้องดูแลพระธิดา ครั้นท่านผู้หญิงทัศนาวลัยมีอายุได้ 6 ขวบ ก็ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ

 

Sponsored Ad

 

        ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขุดเรือใบฝีพระหัตถ์จำนวนมาก ซึ่งทรงสร้างได้แนบเนียนตามรูปร่างอย่างแบบเรือใบแข่งเพรียวลมด้วยการย่อส่วนอย่างถูกต้องตามหลัก เรือใบที่สำเร็จขึ้นโดยฝีพระหัตถ์เหล่านี้ มีอยู่ลำหนึ่งซึ่งโปรดกว่าลำอื่น พระราชทานชื่อว่า “ทัศนาวลัย” อันเป็นชื่อของพระภาคิไนย และพระราชทานเป็นพระปรมาภิไธย “ภ.อ.” ติดที่เรือใบด้วย ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลสามตำบล ต่อมาได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนทัศนาวลัย”

 

Sponsored Ad

 

        บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดาของท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมหุนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนนามสกุลเป็น รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

Sponsored Ad

        ทัศนาวลัย รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เดินทางไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และได้พบกับสินธู ศรสงคราม ซึ่งรับราชการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับพระราชทานสมรสกับสินธู ศรสงคราม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยมีบุตรชายคนเดียว คือ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม สมรสกับเจสสิกา มิกเคลิช อดีตนักแสดงซึ่งเป็นลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์

        ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดบองมาร์เช่ และเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์ฯ นอกจากนี้ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยยังถือหุ้นของบริษัทสัมมากรจำกัดมหาชนร้อยละ 10 

ข้อมูลและภาพจาก up2youha, keawwhan

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ