เผยภาพวิธีแก้ปัญหา "แอร์หยดน้ำ" ด้วยผ้าอนามัย ไม่ยุ่งยาก เปลี่ยนง่าย

คอมเมนต์:

มีแบบกลางวันและกลางคืนด้วยนะ จริงไหม

    เชื่อว่าเกือบทุกบ้านที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศต้องเคยเจอปัญหานี้แน่นอน ปัญหาน้ำแอร์รั่วไหล บ้างก็จ้างช่างแอร์ บ้างก็จัดการปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ทนได้ก็ทนไป

(ภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น)

 

Sponsored Ad

 

    ล่าสุดก็มีชาวเน็ตไต้หวันรายหนึ่ง ออกมาเปิดเผยวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก่อนที่ช่างแอร์จะมาถึง ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าถ้าน้ำแอร์รั่วนิดหน่อย แบบหยดเล็กก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ โดยเขาได้นำผ้าอนามัยมาแปะติดบริเวณที่แอร์น้ำหยดไปก่อน

    หลังจากที่โพสต์ภาพนี้ลงไปในเพจท้องถิ่นของไต้หวัน ก็มีผู้คนจำนวนมาก เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า

 

Sponsored Ad

 

    “ถ้าเป็นตอนกลางคืนควรใช้แบบมามากตอนกลางคืนหรือเปล่า”

    “ทำไมสามีที่บ้านฉันถึงคิดวิธีนี้ไม่ได้เลย อะไรก็เรียกช่างตลอด”

    “วิธีนี้เยี่ยม ต้องเรียนรู้ไว้ซะแล้ว จะได้ไม่ต้องเรียกช่างอีกต่อไป”

    “เย็นนี้ไปซื้อผ้าอนามัยด่วน ยี่ห้อไหนหนาสุดรบกวนบอกหน่อยสาวๆ”

 

     มาดูสาเหตุที่ทำให้แอร์น้ำหยดกันก่อน

    1. ปัญหานี้อาจจะเกิดจากถาดน้ำทิ้งชำรุด  อาทิ หลุด หรือ แตก 

    2. อาจจะเกิดจากถาดหรือท่อทิ้งน้ำตัน ส่งผลให้เกิดกระบวนการฟอกอากาศ ไม่สามารถระบายออกมาได้ จนทำให้มันล้นและย้อนกลับไป จนกลายเป็นน้ำซึมจากตัวแอร์ 

 

Sponsored Ad

 

    3. อาจจะเกิดปัญหาภายใน ที่ช่างทำไว้ไม่ดีเท่าที่ควร นั้นคือ การเดินท่อและหุ่มท่อไม่ได้มาตรฐาน จนเกิดหยดน้ำเกาะไปตามรอบ จนหยดออกมานอกตัวแอร์

     4. อาจจะเกิดจากถาดคอยล์ด้านหลังของแผงคีบแอร์นั้นตัน จนทำให้มีหยดน้ำเกาะอยู่นอกตัวแอร์

    วิธีแก้ปัญหาแอร์น้ำหยด

 

Sponsored Ad

 

    1. เพียงใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเป่าลมไปบริเวณนั้นมากๆ คือบริเวณปลายท่อและท่อน้ำทิ้ง ไล่น้ำออกให้แห้ง

    2. หากต้องการล้างแอร์ ควรเรียกช่งแอร์มาจัดการดีกว่า เพราะจะสะดวกและสามารถถอดส่วนประกอบ หรือท่อแอร์ออกมาล้างได้เลย

    3. อาจจะเกิดจากการรั่วซึมของน้ำยา เพราะหากมีน้อยเกินไปจะทำให้แอร์ทำงานไม่ดีเท่าที่ควร จนถึงอาจทำให้เครื่องรวนหรือพังไปเลย

    4. แนะนำให้ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง หากพบว่ามันเลื่อนหรือเคลื่อนออกจากจุดเดิม ให้นำไปใส่ในสภาพเดิม

    5. ควรตรวจสอบภายในของตัวเครื่องว่ามี สัตว์จำพวกหนู หรือแมลงเข้าไปอยู่หรือไม่  ถ้ามีอาจจะสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่แอร์ภายในเครื่อง หากสุดท้ายแล้วไม่มีความชำนาญควรเรียกช่างมาซ่อมหาสาเหตุแท้จริงดีกว่านะคะ

ที่มา : teepr | เรียบเรียงโดย หมื่นพันเหตุผล

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ