เปิด 20 บุคคลสำคัญของไทย ที่ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

คอมเมนต์:

จงภูมิใจในความเป็นไทย

    ทราบหรือไม่ว่าบุคคลในประวัติศาสตร์จำนวนมากได้รับการยกย่องจาก UNESCO (องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก วันนี้แอดมินจึงจัดอันดับ รายนาม 20 บุคคลสำคัญของไทย ที่ทั่วโลกยังให้ความสำคัญและจารึกไว้

    1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

Sponsored Ad

 

    ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้รับเกียรติจากยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคล สำคัญของโลก เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2505

    2.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์

 

Sponsored Ad

 

    ทรงได้รับการยกย่อง เนื่องในโอกาสฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2506

    3. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

 

Sponsored Ad

 

    ทรงได้รับการยกย่องจากยูเนสโก เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 200 พรรษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511

    4. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชินีนาถ

 

Sponsored Ad

 

    ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา ?สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า? ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524

    5.สุนทรภู่ กวีเอกครั้งรัชกาลที่ 2

 

Sponsored Ad

 

    ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 200 ปี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2529 นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้

    6. ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ) นักปราชญ์และนักวัฒนธรรมสำคัญของไทย

 

Sponsored Ad

 

    ยูเนสโกประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ ชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2531

    7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

    ทรงเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายพระเกียรติจากยูเนสโก ประกาศให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 200 ปีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2533

    ทรงแตกฉานในภาษาบาลี พระนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีคือ พระนิพนธ์เรื่อง “สุคตวิทัตถิวิธาน” ซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นภาษาบาลีอีกหลายเรื่อง

Sponsored Ad

    นอกจากจะเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีแล้ว ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ ในด้านต่าง ๆ พอประมวลได้ดังนี้ คือ ด้านสถาปัตยกรรมทรง ออกแบบพระปฐมเจดีย์ องค์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2396

    ด้านโบราณคดี ทรงเป็นนักอ่านศิลาจารึกรุ่นแรกของไทยได้ศึกษาและรวบรวมจารึกต่างๆ ในประเทศไทยไว้มาก และได้ ทรงอ่านจารึกสุโขทัยหลักที่2 ที่เป็นอักษรขอมเป็นพระองค์แรก 

    ด้านประวัติศาสตร์ ทรงนิพนธ์ลิลิตพงศาวดารเหนือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ และพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เป็นต้น 

    ด้านดาราศาสตร์ทรงพระนิพนธ์ ตำราปักขคณนา (คำนวนปฏิทินทางจันทรคติ) ไว้อย่างพิสดาร

    ด้านวิทยาศาสตร์ ทรงบันทึกจำนวนฝนตกเป็นรายวัน ติดต่อกันเป็นเวลาถึง 45 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2389 ถึงปี พ.ศ. 2433 เพื่อเป็นการเก็บสถิติน้ำฝนในประเทศไทย เรียกบันทึกนี้ว่า จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน

    8. พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

    เป็นคนไทยที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก เนื่องในวาระฉลองวันประสูติครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2534

    9.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

    ทรงได้รับการถวายพระสมัญญา? พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย? เมื่อปี 2535 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์ การพยาบาลและการสาธารณสุข เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535

    10.เมื่อปี 2539 เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

    ยูเนสโกได้ประกาศ ยกย่องและร่วมฉลองในวาระมงคลดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539

    11.สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวาระฉลองวันพระราชสมภพครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2543

    12.ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

    ยูเนสโกประกาศให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ และประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสฉลองชาตกาลครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543

    13.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

    ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญา? พระปิยมหาราช? ทรงได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การพัฒนาสังคม เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพครบ 150 พรรษา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2546

    14. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล


    บุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม (วรรณคดี) และการสื่อสาร เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2546

    หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480

    ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ สถาปนา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

    15.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

    ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า ?พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย? ทรงได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ 200 พรรษา ในวันที่ 18 ตุลาคม 2547

    16.นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกาว่า? ศรีบูรพา? นักเขียน นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์มีชื่อของไทย

    ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านนักเขียนและนัก หนังสือพิมพ์ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

    17.ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์)

    ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549

    18.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

    ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นคนไทยที่ได้รับการยกย่องจากยุเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้าน วรรณกรรม การศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และการต่างประเทศ เนื่องในวาระฉลอง 200 ปีวันคล้ายวันประสูติ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551

    ผลงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีดังนี้ ผลงานด้านวรรณกรรมและการศึกษา ได้แก่ นิราศพระประธม เพลงยาวสามชาย เพลงยาวกลบทสิงโตเล่นหาง พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตามพระราชบัญชาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หนังสือจินดามณีฉบับพระนิพนธ์กรมหลวงวงษาธิราชสนิท หรือประถมจินดามณี เล่ม 2 

    จาก เอกสารทูตฝรั่งหลายคนบอกว่าท่านเป็นเจ้านายใจดี มีความทันสมัยใหม่ นักวิชาการหลายคนรู้จักท่าน แต่สาธารณชนไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าไหร่ ผลงานของพระองค์ท่านถูกเก็บเอาไว้หลายหน่วยงานอย่างตำราสูตรยาแผนโบราณมี อยู่ที่สถาบันการแพทย์แผนไทย ร่วมยาหรือกระเป๋ายา มีอยู่ในอุทยานรัชกาลที่ 2 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผลงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ได้แก่ ตำราสรรพคุณยาสมุนไพรไทย จำนวน 166 ชนิด เป็นตำราสมุนไพรเล่มแรกของไทยที่เขียนแบบเอกสารทางวิชาการ แจกแจง และวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับประกาศนียบัตรถวายเป็นพระเกียรติยศจาก สถาบันการแพทย์ของยุโรป และได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ชาวต่างชาติในสยามเรียกขานพระองค์ว่า The Prince Doctor อีกทั้งพระองค์ยังทรงจารึกคำประพันธ์ไว้บนแผ่นหิน บรรยายถึงการบำบัดโรคด้วยสมุนไพร และการออกกำลังกายในท่าต่างๆ ที่เรียกว่า ฤๅษีดัดตน ที่มีเรียงรายอยู่ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ 

    ส่วนผลงานด้านต่างประเทศ ได้แก่ สนธิสัญญาทางไมตรีจิตและพาณิชย์ระหว่างสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและ กษัตริย์สยาม หรือสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) เพื่อถ่วงดุลอำนาจของชาติมหาอำนาจต่างๆ 

    19.นายเอื้อ สุนทรสนาน

    ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขาวัฒนธรรม ดนตรีไทยสากล เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2553

    20.พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช


    ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี ในวันที่ 20 เมษายน 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศไทยอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง 

ที่มา : ด.ช.ภูวดล  บุญช่วย 

บทความที่คุณอาจสนใจ