ไขข้อสงสัย เหตุใดถึงปล่อยให้ "พาสาน" แลนด์มาร์คของจังหวัดดัง น้ำท่วมเอ่อล้นมาใต้สะพานได้

คอมเมนต์:

งานนี้จะสมบูรณ์ไม่ได้ เลยถ้าไม่มีการวางผังและออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ดี // ขอปรบมือให้เลยค่ะ

    พาสาน คือแลนด์มาร์คสุดฮิตของเมืองนครสวรรค์ โดยตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งที่มาของชื่อ "พาสาน" มาจากคำว่า "ผสาน" คือ การรวมกัน แต่ "พาสาน" คือ การพาคนเข้าไปสานให้เกิดการผสมผสานกันระหว่าง คน สถานที่ และสภาพแวดล้อม [อ่านเพิ่มเติม: เรื่องราวของ "พาสาน" จุดเช็คอินใหม่ของปากน้ำโพ เป็นมากกว่าจุดถ่ายรูป ที่คนต้องบอกต่อ]

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนทำให้น้ำปิงที่ไหลมาจากจังหวัดกำแพงเพชร และแม่น้ำน่านจากจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร เอ่อล้นลอดใต้อาคาร "พาสาน" ที่เป็นสะพานโค้งเรียบร้อยแล้ว นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกตั้งแต่ที่มีการก่อสร้าง "พาสาน" มาหลายปี ที่ระดับน้ำจะเพิ่มสูงมากขนาดนี้ โดยมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้าไปเที่ยวชมอย่างคึกคัก

    หลายท่านอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดทำไมทุกคนดูดีใจเมื่อมีน้ำท่วมเอ่อล้น ใต้สะพานโค้ง "พาสาน" ทั้ง ๆ ที่เป็นแลนมาร์คชื่อดังของจังหวัด เหตุใดถึงปล่อยให้น้ำท่วมแบบนี้ได้?

 

Sponsored Ad

 

    โดยทางเพจ สถาปนิก ignite  ได้ออกมาคลายความสงสัย โดยบอกว่า "ในที่สุด! แต่นี่เป็นไปตามการออกแบบนะ" นั่นหมายความว่าได้มีการออกแบบและก่อสร้างขึ้นให้สามารถคงอยู่ในสภาวะที่จะมีน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูน้ำหลากไว้ตั้งแต่ต้น ลักษณะอาคารยกโค้งพ้นน้ำ ประชาชนหรือนักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือลอดส่วนโค้งชมความงามของสถาปัตยกรรมแห่งนี้ได้นั่นเอง

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ทางเพจก็ยังได้สรุปใจความในเรื่องงานภูมิสถาปัตยกรรม จากการคุย กึ่ง สัมภาษณ์ ภูมิสถาปนิกผู้ออกแบบ คุณ Josh ธัชพล สุนทราจารย์ อย่างไม่เป็นทางการให้เพื่อน ๆ ทราบดังนี้ 

    ความสำคัญของที่ตั้ง คือ จุดนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแม่น้ำสองสายบรรจบกัน คือแม่น้ำ ปิง และ น่าน  ทำให้เห็นชัดว่าเมื่อแม่น้ำบรรจบกันแล้ว มีสองสี 

    เงื่อนไขของ site ที่มีผลต่อการออกแบบ คือ ระดับน้ำ พื้นที่บริเวณนี้จะมีน้ำท่วม ในฤดูน้ำหลาก 

    ระดับน้ำเฉลี่ยในบริเวณนี้ คือ +18 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  แต่ในช่วงน้ำหลาก น้ำอาจจะสูงไปได้ถึงระดับ 26 เมตรได้ เท่าปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่  

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่ง คุณ Josh บอกว่าถ้าระดับน้ำถึง  24 เมตรน้ำจะท่วมใต้อาคาร อาจจะได้เห็นการพายเรือรอดได้ ซึ่งในสัปดาห์นี้ น้ำอยู่ที่ประมาณ 23 เมตรแล้วครับ

 

Sponsored Ad

 

    ดังนั้นการออกแบบที่ดีที่สุดคือ "การไม่เอาชนะธรรมชาติ" หากเอาชนะธรรมชาติคือไม่ให้น้ำท่วมเลย จะต้องทำเขื่อนสูง 24-26 เมตร ซึ่งสูงจากระดับน้ำเฉลี่ย 6-7 เมตรเลยทีเดียวไม่รวมในช่วงหน้าแล้ง อาจจะกลายเป็นเขื่อนสูง 9-10 เมตร ประมาณบ้านสามชั้นเลย เวลามองมาคงไม่สวยเอามาก ๆ   

    การออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม จึงออกแบบโดยยอมรับให้น้ำเข้าท่วม site ได้ แล้วให้เห็นปรากฏการณ์ ของ Space & Time ที่เปลี่ยนไป เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน  ทำให้เกิดภาพที่สามารถ นำเรือลอดใต้ สัญลักษณ์แม่น้ำเจ้าพระยานี้ได้ 

 

Sponsored Ad

 

    นอกจาก อาคารแล้ว ส่วนประกอบของโครงการ ก็มีส่วนพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ใต้ดินอีกด้วยและสวนสาธารณะ ทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาทในปี 2554 และเป็นงบจากเทศบาลและประชาชนร่วมบริจากทำให้รู้ว่าคนที่นี่รักท้องถิ่นมาก ๆ

โพสต์ดังกล่าว

.

ภาพจาก Nakhonsawan news on line

ที่มา : เพจ วันนี้ที่ปากน้ำโพ, เพจ สถาปนิก ignite และภาพจาก คุณ ธัชพล สุนทราจารย์

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ