เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ "เจ้าฟ้าพระองค์แรก" ของพระราชวงศ์ไทย ที่ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านศิลปะ

คอมเมนต์:

“ลูกมีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือให้มีความรู้ เพื่อจะได้ออกมาทำงานเพื่อประเทศชาติ" -ในหลวง รัชกาลที่ ๙-

    “ลูกมีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือให้มีความรู้ เพื่อจะได้ออกมาทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสอน ศ. ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี วรขัตติยราชนารี ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

    สำหรับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี แม้นทรงสำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ถึง 4 ปริญญา และทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ด้านวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการสาธารณสุข ที่สามารถปรับใช้ในการพัฒนาประเทศได้นั้น ทรงมีอีกความสุขที่ทรงเลือกด้วยพระองค์เอง คือการเรียนศิลปะ

 

Sponsored Ad

 

    การวาดภาพเป็นกิจกรรมที่ทรงโปรดและทรงมีพระสมาธิในการวาดภาพติดต่อกันหลายชั่วโมง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงสังเกตเห็นและกราบบังคมทูลว่า "น่าจะได้ทรงเรียนเขียนลายไทยด้วย" เพื่อนำลายไทยและความเป็นไทยแต่งแต้มจัดวางไว้ในภาพวาดฝีพระหัตถ์

 

Sponsored Ad

 

    จึงทรงเริ่มเรียนการวาดลายเส้นจิตรกรรมไทย โดยคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอพระราชทานพระอนุญาตให้นายปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เป็นพระอาจารย์ถวายการสอน

.

 

Sponsored Ad

 

    จึงตัดสินพระทัยในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทรงสมัครเรียนแบบออนไลน์ และกรอกเอกสารการสมัครเรียน พร้อมกับแนบ Portfolio ผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์รูปเสือ เสนอคณะกรรมการหลักสูตรฯ พิจารณาเช่นเดียวกับนักศึกษาทั่วไป ทรงมีพระนามปรากฏอยู่ในทะเบียนรายชื่อนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2560

 

Sponsored Ad

 

    ตลอดระยะเวลา 3 ปี ระหว่างทรงศึกษา แม้จะทรงมีพระภารกิจ รวมไปถึงอุปสรรคต่างๆ และพระพลานมัยของพระองค์เอง ก็ยังทรงเขียนรูปตลอดเวลา ระหว่างการเรียนการสอนทั้งที่คณะจิตรกรรมฯ และพระตำหนักฯ ทรงนำผลงานจำนวนมากมาให้คณาจารย์ผู้ถวายการสอนแนะนำและวิจารณ์ทุกครั้ง ด้วยพระประสงค์ที่จะทรงศึกษาตามหลักสูตร ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็น "ศิลปินมืออาชีพ" โดยผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะจากการลงมือปฏิบัติ 

    ซึ่งพระองค์จะต้องทรงนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ด้วยพระองค์เอง และการจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน 2 ครั้ง ตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย โดยทรงนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ครั้งแรกในชุด "หลากลาย หลายชีวิต" (Various Pattern; Diversity of Life) เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

 

Sponsored Ad

 

.

    และในครั้งที่ 2 ทรงจัดนิทรรศการวิทยานิพนธ์ เพื่อการสอบจบภาคการศึกษา ณ หอศิลป์พิมานทิพย์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเดือนมกราคม 2563 โดยการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ครั้งสุดท้ายเพื่อจบการศึกษานี้ เป็นการสอบปากเปล่าประมาณ 1 ชั่วโมง

Sponsored Ad

    นับว่าทรงทำในสิ่งที่รักโดยการจัดสรรเวลาในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางด้านศิลปะ จากที่มีพระภารกิจประจำอยู่แล้ว สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒน พระชันษา 63 ปี จึงทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ที่มา : Royal World Thailand, bangkokbiznews