ไม่ง้อไฟฟ้า ลุงชาวนา "ผู้ไม่ยอมแพ้" สร้างฝายกั้นน้ำคนเดียว 2 ปี จากซี่ล้อจักรยานเก่า ดึงน้ำเข้านา

คอมเมนต์:

ลุงทำฝายกั้นน้ำมาคนเดียวเงียบๆ กว่า 2 ปี เมื่อสำเร็จยังแจกจ่ายน้ำให้ที่นาของเพื่อนบ้านอีก ไม่หวังผลตอบแทน!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

    ชาวนาไทยสู้ชีวิตหัวใจไม่เคยแพ้ เปิดชีวิต "ลุงต้อย"  ชายชรา ต.เชียงเครือ จ.สกลนคร สร้างฝายกั้นน้ำคนเดียวนาน 2 ปี นำของเก่าวัสดุเหลือใช้รวมกับซี่ล้อจักรยานเก่า มาทำกังหันเพื่อดึงน้ำจากลำห้วยเข้านาโดยไม่ใช้ไฟฟ้า

    นายชัย สุริรมย์ นายกเทศบาลตำบลเชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร ได้พาเข้าไปชมที่นาของ นายขวัญใจ อุปพงศ์ หรือลุงต้อย อายุ 56 ปี ที่บ้านป่าหว่าน ม.7 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร โดยที่นาของลุงต้อยไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ เพราะลุงต้อยเป็นคนขยัน เป็นชาวนาไทยที่สู้ชีวิตหัวใจไม่เคยแพ้

 

Sponsored Ad

 

    ลุงต้อย กล่าวถึงปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตรที่เจอว่า หนึ่งในปัญหาของชาวนาส่วนใหญ่ คือ "น้ำ" หากปีไหนน้ำมากก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปีไหนอากาศแปรปรวนฝนน้อย ก็มักประสบปัญหาไม่สามารถไถหว่านปักดำได้

 

Sponsored Ad

 

.

    ตนเห็นว่าติดกับที่นาของตนมีต้นทุนคือลำห้วยลาก ที่มีความยาว 10 กม. ก่อนจะไหลลงสู่หนองหาร ในหน้าแล้งน้ำก็จะไหลลงหนองหารจนหมด ตนจึงคิดว่าน่าจะสร้างฝายกั้นน้ำขึ้นมา โดยเก็บหินลูกรังที่อยู่ในนาวันละ 10-20 ก้อน นำมากั้นลำห้วย ใช้เวลาในการกั้น 2 ปี จึงเป็นฝายน้ำล้น กักเก็บน้ำสูงได้ 180 ซม. ถ้าจะใช้ระบบไฟฟ้าหรือน้ำมันมาสูบน้ำก็จะทำให้มีต้นทุนเพิ่ม ตนเคยทำงานเป็นช่างจึงนำประสบการณ์มาใช้

 

Sponsored Ad

 

    นายขวัญใจ หรือลุงต้อย บอกว่า ได้ดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ขอมาจากเจ้าของเดิม ใช้หลักการของธรรมชาติ ก็คือเอาแรงดันจากการไหลของน้ำมาขับเคลื่อนกังหันที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้จากท่อพีวีซี มาประกอบกับวงล้อเก่าจักรยาน คล้องสายพานไปยังเครื่องปั๊มน้ำที่เหลือใช้ นำไปประกอบติดตั้งในฝายของลำห้วย จากนั้นก็ปล่อยให้ระบบทำงานหมุนไปเรื่อยๆ โดยระบบปั๊มก็ทำงานและชักสูบน้ำจากลำห้วยขึ้นมาได้สูงถึง 3-4 เมตร ก่อนที่จะมีบ่อพักแล้วปล่อยให้น้ำไหลเข้าที่นาไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องมีต้นทุนจากไฟฟ้าหรือน้ำมัน

 

Sponsored Ad

 

.

    น้ำก็จะไหลเข้าที่นาจนเพียงพอต่อการทำนา และยังแบ่งให้กับที่นาของเพื่อนบ้านได้อีกด้วย เมื่อไรที่ฝนทิ้งช่วงก็ยังสามารถนำกังหันไปประกอบสูบน้ำเข้านา หล่อเลี้ยงต้นข้าว ไม่สงวนลิขสิทธิ์นำไปประดิษฐ์ได้เอง นับเป็นแนวคิดดีๆ ของเกษตรกรที่รู้จักดัดแปลงจากวัสดุที่มีอยู่ สามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ประกอบกับผลพลอยได้จากทางนายกเทศมนตรีเทศบาลเชียงเครือได้ทำระบบธนาคารน้ำใต้ดินไว้ครอบคลุมในพื้นที่ จนมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรให้กับชาวบ้านได้อีกด้วย

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ที่มา : thairath

บทความที่คุณอาจสนใจ