กฎหมายน่ารู้ ขับรถชนท้าย "ไม่ผิด เสมอไป" และควรเว้นระยะห่างเท่าใด

คอมเมนต์:

กฎหมายน่ารู้ ขับรถชนท้าย "ไม่ผิด เสมอไป" และควรเว้นระยะห่างเท่าใด

    หลายคนคงเคยได้ยินเหตุการณ์ขับรถชนท้ายบ่อย ๆ และเมื่อมีเหตุการณ์ขับรถชนท้ายทุกครั้ง คนส่วนใหญ่ก็มักพูดว่าผู้ที่ชนท้ายมักจะผิดเสมอ ทั้งๆ ที่บางครั้งสถานการณ์อาจเกิดจากการที่รถยนต์คันหน้าเบรคกระทันหันเป็นเหตุ

    ดังนั้นแนวความคิดที่ที่ว่านี้ก็ไม่ถูกต้องเสมอไป ต้องดูสถานการณ์อีกที  “ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 40 วางหลักไว้ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควร ในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย ในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ” นั่นหมายความว่า จะขับเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องไม่จี้คันหน้าจนเบรกไม่ทันและชนในที่สุด หากขับตามนี้โดยหลักการแล้วต้องไม่ชน แต่ในความเป็นจริงก็เจอว่าหลายๆ เคสการชนท้ายก็เกิดขึ้นได้ แม้จะระมัดระวังเต็มที่แล้วก็ตาม

 

Sponsored Ad

 

     ดังนั้น หากเราขับรถในระยะห่างที่พอดี ไม่ชิดเกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้วล่ะก็ คันหน้าบังเอิญเบรคกระทันหัน โดยเนื่องจากว่ามีรถคันอื่นปาดหน้า แล้วทำให้คุณไปชนท้ายเขา จงจำไว้เลยว่า คุณไม่ใช่ฝ่ายผิด แต่ฝ่ายที่ผิดคือ รถคันที่ขับตัดหน้าคันที่คุณชนท้าย หรือถ้าคุณขับตามรถคันหน้าที่มีอาการมึนเมา หรือไม่พร้อมขับรถ แล้วคุณเกิดไปชนท้าย คุณก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดเช่นกัน

 

Sponsored Ad

 

    ตามมาตรฐานสากลที่ให้ความปลอดภัยสูงสุด กำหนดระยะห่างจากท้ายคันหน้าด้วยค่าความเร็วที่ขับตามกันไว้ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วที่มีหน่วย กม./ชม. แล้วใช้หน่วยความยาวเป็นเมตร เช่น ขับตามหลังคันหน้าด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. ควรเว้นระยะห่าง 50 เมตร 

    แต่ในสภาพการจราจร และพฤติกรรมการขับขี่ ลดลงอีกครึ่ง(ก็ยังดี) และถ้าสถานการณ์บังคับก็พอยอมให้เหลือ 1 ใน 4 ได้ ซึ่งที่จริงไม่ใช่ระยะที่ปลอดภัยแล้ว แต่ก็ยังดีกว่าที่ใช้กันอยู่แค่ 1 ใน 10 เพราะฉะนั้น จากตัวอย่างเดิม ระยะห่างที่ควรเว้นที่ความเร็ว 100 กม./ชม. คือ 50 เมตร ถึง 30 เมตร โดยประมาณ

ที่มา : ให้ความรู้

บทความที่คุณอาจสนใจ